Page 32 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินทรายชายทะเลเพื่อปลูกคะน้าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        21







                       ต่อต้น 143  กรัม อายุตั้งแต่ปลูกถึงออกดอกประมาณ 50-55  วัน ให้ผลผลิตประมาณ 1,500-2,000
                       กิโลกรัมต่อไร่ เป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคล าต้นแตก
                                         ผู้บริโภคในแต่ละท้องถิ่นจะนิยมบริโภคพันธุ์ผักคะน้าที่ไม่เหมือนกัน เกษตรกรที่ปลูก
                       ผักคะน้าส าหรับขายจึงควรเลือกปลูกพันธุ์ตามความต้องการของตลาด ในท้องถิ่นนั้น บางท้องถิ่น

                       อาจจะนิยมบริโภคผักคะน้าใบ บางท้องถิ่นนิยมบริโภคผักคะน้าพันธุ์ยอด การเลือกปลูกพันธุ์ที่ตลาด
                       ต้องการจะไม่มีปัญหาเรื่องการขายในภายหลัง
                                   7.3 สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม

                                          ผักคะน้าเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ าทะเลไม่เกิน 800 เมตร
                       ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 เปอร์เซ็นต์  ผักคะน้าเป็นผักที่สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดที่มีความอุดม
                       สมบูรณ์สูง มีความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)  ของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.8  และมีความชื้นในดินสูงสม ่า
                       เสมอ ค่าความเค็มของดิน (EC) อยู่ระหว่าง 6,400-7,700 พีพีเอ็ม ปริมาณอินทรียวัตถุ 2.6-3.5
                       เปอร์เซ็นต์ ปริมาณไนโตรเจน 2.8-3.0 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัส 0.17-0.29 เปอร์เซ็นต์ และ

                       ปริมาณโพแทสเซียมในดิน 1.8-2.3 เปอร์เซ็นต์ (สุนิสา, 2551) ต้องการแสงแดดเต็มที่ ผักคะน้า
                       สามารถเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิเฉลี่ย 25-30  องศาเซลเซียส แต่ผักคะน้าก็สามารถทนทานต่อ
                       สภาพอุณหภูมิสูงได้ดี

                                7.4  การปลูกและการดูแลรักษา
                                      7.4.1  การเตรียมดิน เนื่องจากผักคะน้าเป็นผักรากตื้นจึงควรขุดดินให้ลึกประมาณ
                       15-20 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน แล้วน าปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ที่สลายตัวดีแล้วมาใส่
                       คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงสภาพทางกายภาพและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน พรวน

                       ย่อยหน้าดินให้มีขนาดเล็ก โดยเฉพาะการปลูกแบบหว่านโดยตรงลงในแปลง เพื่อมิให้เมล็ดตกลึกลงไป
                       ในดิน เพราะจะไม่งอกหรืองอกยากมาก ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพที่
                       เหมาะสม
                                          7.4.2  การเพาะกล้า แปลงเพาะกล้าควรมีขนาดกว้าง 1  เมตร ส่วนความยาวตาม

                       ความเหมาะสม การเตรียมดินบนแปลงเพาะกล้าควรขุดไถพรวนดินอย่างดี ตากดินไว้ประมาณ 5-7
                       วัน ย่อยหน้าดินให้ละเอียด แล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน
                       ให้ทั่ว จากนั้นจึงหว่านเมล็ดให้กระจายสม ่าเสมอทั่วแปลง กลบเมล็ดด้วยดินผสมหรือปุ๋ยคอกที่
                       สลายตัวดีแล้ว ให้หนาประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบางๆ รดน ้าให้ชุ่มด้วย

                       บัวฝอยละเอียด ต้นกล้าจะงอกภายใน 7 วัน ดูแลต้นกล้า ถอนต้นอ่อนแอที่เบียดกันแน่นทิ้งไป ควรใส่
                       สารละลายสตาร์ทเตอร์โซลูชั่นรด เพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ ดูแลปูองกันโรคแมลงที่เกิดขึ้น เมื่อ
                       กล้ามีอายุประมาณ 25-30 วัน จึงท าการย้ายไปปลูกในแปลงปลูกต่อไป

                                          7.4.3  ระบบปลูกและระยะปลูก  ระบบการปลูกผักคะน้านิยมปลูกแบบหว่าน
                       กระจายทั่วแปลงมากที่สุด และแบบแถวเดียวกรณีที่ย้ายกล้าหรือหยอดเมล็ดเป็นแถว การหว่านเมล็ด
                       กระจายทั่วแปลงเหมาะส าหรับแปลงปลูกขนาดใหญ่เป็นการค้า เช่น แปลงยกร่อง แถบภาคกลางที่
                       นิยมเตรียมดินโดยใช้แรงงานเครื่องจักร และให้น ้าแบบลากเรือพ่นรด ส่วนแบบแถวเดียวเหมาะ
                       ส าหรับแปลงปลูกขนาดเล็กหรือผักสวนครัว เตรียมดินโดยการใช้แรงงานคน และให้น ้าแบบใช้บัว
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37