Page 29 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินทรายชายทะเลเพื่อปลูกคะน้าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        18







                       5. การจัดการดิน
                                  5.1 ความหมายของการจัดการดิน:
                                      FAO ( 2017a) ได้ให้ความหมายของ การจัดการดิน (Soil management)  ว่าการ
                       จัดการดินเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการที่ดินและอาจเน้นความแตกต่างของชนิดของดินและลักษณะ

                       ของดินเพื่อการเพิ่มคุณภาพดินให้เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดการดินเป็นสิ่งจ าเป็นเพื่อ
                       ปกปูองและอนุรักษ์ทรัพยากรดิน นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มปริมาณคาร์บอนในดินเพื่อบรรเทาการ
                       เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

                                      การจัดการดินจะเป็นไปได้อย่างยั่งยืนได้โดยการมีกระบวนการสนับสนุน การ
                       จัดเตรียม การจัดหา ควบคุมและบริการทางวัฒนธรรมที่ได้จากบ ารุงรักษาดินให้ดีขึ้น โดยไม่ท าให้
                       สมรรถนะของดินเสียไปจากการใช้ประโยชน์ที่ดินไปอย่างมาก ซึ่งจะช่วยให้ดินสามารถให้ทั้งการ
                       บริการหรือความหลากหลายทางชีวภาพได้ ความสมดุลระหว่างการสนับสนุนและการจัดเตรียม
                       ให้บริการส าหรับการผลิตพืชและการบริการควบคุมส่วนต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดิน รวมทั้งคุณภาพน้ าและ

                       การใช้ประโยชน์ดินที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ (FAO, 2017b)
                               การจัดการดินอย่างยั่งยืนเกี่ยวข้องกับลักษณะดังต่อไปนี้
                                     1) การท าให้การกัดกร่อนของดินโดยน้ าและลมมีอัตราการเกิดต่ าสุด

                                     2) โครงสร้างของดินไม่เสื่อมโทรม และให้ความมั่นคงทางกายภาพ ซึ่งจะเป็น
                       ประโยชน์ต่อการเคลื่อนที่ของอากาศ น้ า และความร้อนรวมทั้งการเจริญเติบโตของราก
                                     3) พื้นผิวดินมีสิ่งปกคลุม  เช่น จากวัสดุพืชที่ปลูกตกค้าง ฯลฯ ) เพื่อปกปูองดิน
                                     4) การจัดเก็บอินทรียวัตถุในดินให้มีเสถียรภาพ  และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม

                                     5) การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตและเพื่อลดความสูญเสีย
                       ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่อสิ่งแวดล้อม
                                     6) การรักษาระดับน้ าในดินเพื่อลดการแพร่กระจายของเกลือและด่าง
                                     7) การกักเก็บน้ า

                                     8) ส่งเสริมให้มีความหลากหลายทางชีวภาพในดิน
                                     9) การใช้ปัจจัยการผลิตที่ดีและปลอดภัย ในการจัดการดินส าหรับการผลิตอาหาร
                       น้ ามันเชื้อเพลิง ไม้ และเส้นใย


                       6. การปลูกผัก
                              ผักอินทรีย์ (Organic vegetables) เป็นผักที่ผลิตด้วยวิธีการทางธรรมชาติ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และ
                       สารสกัดจากธรรมชาติในการปูองกันก าจัดศัตรูพืช โดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์และพืชที่มีการตัดต่อ

                       ทางพันธุกรรม ในปี 2553 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกผักอินทรีย์มีประมาณ 7,000 ไร่ เป็นอันดับ 3 รอง
                       จากข้าวอินทรีย์และพืชไร่อินทรีย์ (ฤทัยชนก, มปป.) กระบวนการผลิตผักอินทรีย์ต้องค านึงถึงดิน พืช
                       แมลง และสภาพแวดล้อมควบคู่กันไป โดยต้องมีการปรับปรุงดินให้สมบูรณ์ มีการปลูกพืชหลายชนิด
                       ทั้งพืชหมุนเวียนและพืชแซม การปูองกันและก าจัดโรคและแมลงศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี และการ
                       ปูองกันและก าจัดวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี (กรมวิชาการเกษตร,  2547)  การปลูกผักอินทรีย์ในระบบ

                       การปลูกพืชหมุนเวียนควรใช้พืชไม่น้อยกว่า 3 ชนิด จะสามารถแก้ปัญหาการระบาดของโรค แมลง
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34