Page 34 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
23
ตารางที่ 7 ปริมาณไนโตรเจนของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 30 และ 60 วัน (เปอร์เซ็นต์)
30 วัน 60 วัน
ต ารับการทดลอง
หลังหมัก หลังหมัก
1. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน 1.46 2.43
2. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+ใส่เชื้อราไฟทอฟธอรา 1.49 2.59
3. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+ใส่เชื้อราไฟทอฟธอรา+ปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ 1.41 2.24
4. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+ใส่เชื้อราไฟทอฟธอรา+ปูนโดโลไมท์2 เปอร์เซ็นต์ 1.45 2.41
+ใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มา
F-test ns ns
C.V. (%) 6.24 5.30
หมายเหตุ ns = ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
3.5 ปริมาณฟอสฟอรัส (P O ) ของปุ๋ยหมัก
2 5
ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 30 วัน พบว่า ปริมาณฟอสฟอรัสของปุ๋ยหมักไม่มี
ความแตกต่างกันทางสถิติ มีปริมาณฟอสฟอรัสอยู่ในช่วง 0.63–0.79 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ปุ๋ยหมัก
เปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 60 วัน หลังจากหมักสิ้นสุด มีปริมาณฟอสฟอรัสที่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และทุก
ต ารับการทดลองยังมีปริมาณฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น โดยมีปริมาณฟอสฟอรัสอยู่ในช่วง 5.82-7.06 เปอร์เซ็นต์
(ตารางที่ 8)
จากการทดลองแสดงให้เห็นว่าระยะเวลาการหมักที่นานขึ้นส่งผลให้ปริมาณฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น
เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ในการหมักมีฟอสฟอรัสสูง (ตารางผนวกที่ 2) ในระหว่างการหมักจะเกิดการท างานของ
เอนไซม์ฟอสฟาเทต ท าให้มีการปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมามาก และอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
(เสียงแจ๋ว และคณะ, 2540) ซึ่งสอดคล้องกับเฉลิมชัย และคณะ (2557) ที่ได้ศึกษาคุณสมบัติและ
ธาตุอาหารหลักของพืชจากปุ๋ยหมักผักตบชวาที่ย่อยสลายโดยเชื้อราไตรโคเดอร์มา พบว่า ที่ระยะเวลา 60 วัน
มีปริมาณของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ของปริมาณธาตุอาหารหลักของพืช คือ 46.65 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่ง
สูงกว่า ที่ระยะเวลา 10, 20 และ 30 วัน