Page 32 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          21




                  การใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์  มีปริมาณอินทรียวัตถุ
                  ไม่แตกต่างกันทางสถิติ คือมี 34.63 31.59 และ 29.25 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ (ตารางที่ 5)
                             การเปลี่ยนแปลงของอินทรียวัตถุของปุ๋ยหมักในช่วงระยะเวลา 30 และ 60 วัน ต ารับที่ใช้ปุ๋ยหมัก

                  จากเปลือกทุเรียนอย่างเดียว ต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนผสมกับเชื้อราไฟทอฟธอรา ต ารับที่มีการใช้
                  ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์  และต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมัก
                  เปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มา  พบว่า ที่ 60
                  วันหลังหมัก ต ารับที่มีการใส่ปูนโดโลไมท์จะมีผลท าให้อินทรียวัตถุเกิดการย่อยสลายได้เร็วกว่าต ารับที่ไม่ใส่
                  ปูนโดโลไมท์ เนื่องจากต ารับที่มีการใส่ปูนโดโลไมท์มีปริมาณจุลินทรีย์เจริญได้ดีกว่าจึงเกิดการย่อยสลาย

                  มากกว่า ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับรายงานของ Haynes and Naidu (1998) ที่แสดงความสัมพันธ์กันระหว่าง
                  อิทธิพลของการใส่ปูนที่เพิ่มขึ้น และปริมาณอินทรีย์วัตถุที่สลายตัว

                  ตารางที่ 5 ค่าปริมาณอินทรียวัตถุของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 30 และ 60 วัน (เปอร์เซ็นต์)


                                                                                          30 วัน      60 วัน
                                             ต ารับการทดลอง
                                                                                         หลังหมัก    หลังหมัก

                   1. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน                                               81.84       34.63
                   2. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา                              83.12       39.89

                   3. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา+ปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์    79.56       29.25
                   4. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา+ปูนโดโลไมท์   2 เปอร์เซ็นต์   83.45      31.59
                      +เชื้อราไตรโคเดอร์มา
                                                  F-test                                    ns          *

                                                 LSD                                        -          6.97
                                                    0.05
                                                 C.V. (%)                                  5.02       10.95
                  หมายเหตุ   ns = ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
                            * = แตกต่างกันที่ระดับระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ (หรือแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญ)

                         3.3 ค่าอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ของปุ๋ยหมัก

                             ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 30 วัน จากการศึกษาค่าอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน
                  ของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนทุกต ารับไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ มีค่าอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนของ
                  ปุ๋ยหมักอยู่ในช่วง 32.33-33.67 (ตารางที่ 6)
                             ที่ระยะเวลาหมักปุ๋ย 60 วัน พบว่า ทุกต ารับมีค่าอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนของปุ๋ยหมัก

                  ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ  มีค่าอยู่ในช่วง 7.33-8.00  โดยต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อรา
                  ไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ มีค่าอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนของปุ๋ยหมักน้อยที่สุด
                  ค่าเท่ากับ 7.33 (ตารางที่ 6)
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37