Page 31 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 31
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
20
ปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของปุ๋ยหมักเพิ่มขึ้น ต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
ใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มา ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของ
ปุ๋ยหมักลดลงเกือบเป็นกลาง (pH 7.93) (ตารางที่ 4)
จากผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงกระบวนการหมักที่สมบูรณ์ มีความเป็น buffer ที่ดีโดยควบคุม
ระดับความเป็นกรดเป็นด่างของปุ๋ยหมักให้เป็นกลาง (เสียงแจ๋ว และคณะ, 2540) และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่กรมวิชาการเกษตรและกรมพัฒนาที่ดินก าหนดที่ไม่ควรเกินค่าความเป็นกรด
เป็นด่าง 8.5 (กรมวิชาการเกษตร, 2551; ส านักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, 2556) เนื่องจากใช้มูลไก่ไข่
เป็นส่วนผสมหลักของปุ๋ยหมัก และปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นเบส เช่น แคลเซียม และแมกนีเซียม ซึ่ง Zhang
(1998) รายงานว่าปุ๋ยหมักมูลไก่มีปริมาณแคลเซียมที่น้ าหนักแห้งเท่ากับ 45 กิโลกรัมต่อปุ๋ยหมัก 1,000
กิโลกรัม
ตารางที่ 4 ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 30 และ 60 วัน
30 วัน 60 วัน
ต ารับการทดลอง
หลังการหมัก หลังการหมัก
1. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน 7.00 8.83
2. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา 7.50 8.29
3. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา+ปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ 7.90 8.67
4. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา+ปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ 8.20 7.93
+เชื้อราไตรโคเดอร์มา
F-test ** ns
LSD 0.25 0.17
0.01
C.V. (%) 1.18 3.48
หมายเหตุ ns = ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
** = แตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99 เปอร์เซ็นต์ (หรือแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญยิ่ง)
3.2 อินทรียวัตถุ (OM)
ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 30 วัน พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ มีค่าอยู่ในช่วง 79.56-83.45 (ตารางที่ 5)
ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 60 วัน พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญ
ทางสถิติ โดยต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนผสมกับเชื้อราไฟทอฟธอรา มีปริมาณอินทรียวัตถุมากที่สุด
เท่ากับ 39.89 เปอร์เซ็นต์ ส่วนต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักจากเปลือกทุเรียนอย่างเดียว ต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมัก
เปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มา และต ารับที่มี