Page 37 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 37
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
26
3.8 ปริมาณแมกนีเซียม (Mg) ของปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 30 วัน พบว่า ปริมาณแมกนีเซียมของปุ๋ยหมักไม่มี
ความแตกต่างกันทางสถิติ มีค่าอยู่ในช่วง 0.72–0.79 เปอร์เซ็นต์
ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 60 วัน พบว่า ปริมาณแมกนีเซียมของปุ๋ยหมักมีความแตกต่าง
กันทางสถิติอย่างมีนัยส าคัญยิ่ง โดยต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูน
โดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณแมกนีเซียมเท่ากับ 5.63 เปอร์เซ็นต์ ไม่แตกต่างกับต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมัก
เปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มามีปริมาณ
แมกนีเซียมที่มีค่าเท่ากับ 5.30 เปอร์เซ็นต์ แต่แตกต่างทางสถิติกับต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนผสมกับ
เชื้อราไฟทอฟธอรา และต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักจากเปลือกทุเรียนอย่างเดียว ซึ่งปริมาณแมกนีเซียมเท่ากับ
2.56 และ 2.01 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ (ตารางที่ 11) และพบว่า ที่ระยะเวลาหมักปุ๋ย 60 วัน มีปริมาณ
แมกนีเซียมเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบที่ระยะเวลาหมัก 30 วัน ส าหรับต ารับที่มีการใส่ปูนโดโลไมท์มีการเพิ่มขึ้น
ของปริมาณแมกนีเซียมโดยตรง ส่วนต ารับที่มีการใส่ปูนโดโลไมท์ร่วมกับเชื้อราไตรโคเดอร์ไมท์จะท าให้ปริมาณ
แมกนีเซียมเพิ่มมากกว่าต ารับที่มีการใส่ปูนโดโลไมท์เพียงอย่างเดียว เนื่องจากปูนโดโลไมท์มีแมกนีเซียม ซึ่ง
สอดคล้องกับการทดลองของ (Botero et al., 2015)
ตารางที่ 11 ปริมาณแมกนีเซียมของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 30 และ 60 วัน (เปอร์เซ็นต์)
30 วัน 60 วัน
ต ารับการทดลอง
หลังหมัก หลังหมัก
1. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน 0.77 2.01
2. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา 0.78 2.56
3. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา+ปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ 0.72 5.63
4. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา+ปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ 0.79 5.30
+เชื้อราไตรโคเดอร์มา
F-test ns **
LSD - 1.51
0.01
C.V. (%) 26.18 14.29
หมายเหตุ ns = ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
** = แตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99 เปอร์เซ็นต์ (หรือแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญยิ่ง)