Page 33 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          22




                             การเปลี่ยนแปลงของอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนในระหว่างกระบวนการย่อยสลายมี
                  อัตราส่วนที่ลดลงในระยะเวลาการหมัก 60  วัน ซึ่งมีผลเนื่องมาจากกระบวนการหมักและสภาพแวดล้อม โดย
                  ปริมาณคาร์บอนจะลดลง เนื่องมาจากถูกน าไปใช้เป็นแหล่งพลังงาน โดยจุลินทรีย์และปริมาณคาร์บอน จะอยู่

                  ในระดับค่อนข้างคงที่ เมื่อเป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์แล้ว ซึ่งท าให้กิจกรรมย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ลดลง (เสียงแจ๋ว
                  และคณะ, 2546) รวมถึงอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนจะลดลงเมื่อระยะเวลาหมักผ่านไปและปุ๋ยหมักที่
                  พร้อมใช้ควรจะมีอัตราส่วนน้อยกว่า 20:1 (Azim et al., 2014)

                  ตารางที่ 6 ค่าอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 30 และ60 วัน


                                                                                       30 วัน        60 วัน
                                            ต ารับการทดลอง
                                                                                      หลังหมัก      หลังหมัก
                   1. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน                                            32.67          8.00

                   2. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา                           32.33          8.67
                   3. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา+ปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์    32.67       7.33
                   4. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา+ปูนโดโลไมท์  2 เปอร์เซ็นต์   33.67       7.67

                      +เชื้อราไตรโคเดอร์มา
                                                F-test                                   ns            ns

                                               C.V. (%)                                 7.66         10.94
                  หมายเหตุ  ns = ไม่แตกต่างกันทางสถิติ

                         3.4 ปริมาณไนโตรเจน (N) ของปุ๋ยหมัก

                             ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 30 วัน พบว่า ปริมาณไนโตรเจนของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
                  ทุกต ารับไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ มีปริมาณธาตุไนโตรเจนของปุ๋ยหมักอยู่ในช่วง  1.41-1.49  เปอร์เซ็นต์
                  ในขณะที่ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 60 วันเมื่อสิ้นสุดการหมัก มีปริมาณไนโตรเจนที่

                  ไม่แตกต่างกันทางสถิติ  โดยมีปริมาณไนโตรเจนอยู่ในช่วง 2.24-2.59 เปอร์เซ็นต์  (ตารางที่ 7)  และพบว่า
                  ที่ระยะเวลาหมักปุ๋ย 60 วัน มีปริมาณไนโตรเจนของปุ๋ยหมักเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบที่ระยะ 30 วัน
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38