Page 38 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          27




                                                       สรุปผลการทดลอง

                         1. การศึกษาผลการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาและปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอรา

                  ของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน หลังจากหมักปุ๋ยเปลือกทุเรียนที่เสร็จสิ้นแล้วระยะ 60 วัน พบว่า ต ารับที่มีการใส่
                  เชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราในกองปุ๋ยหมักได้ตั้งแต่ระยะการหมักปุ๋ย
                  ที่ระยะเวลา 30 วัน และลดปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับต ารับอื่นๆ หลังเสร็จสิ้น
                  กระบวนการหมักปุ๋ย นอกจากนี้ต ารับที่มีการใส่ปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดปริมาณเชื้อรา
                  ไฟทอฟธอราได้ดีกว่าต ารับที่ไม่มีการใส่ปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์

                         2. อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักตลอดระยะเวลาการทดลองพบว่า อุณหภูมิเริ่มต้นเฉลี่ย 35.50
                  องศาเซลเซียส และเพิ่มสูงสุดที่ 15  วัน เฉลี่ย 39.53  องศาเซลเซียส หลังจากนั้น อุณหภูมิค่อยๆ ลดลง
                  จนสิ้นสุดกระบวนการย่อยสลายมีค่าเฉลี่ย 31.95 องศาเซลเซียส

                         3. ส าหรับค่าวิเคราะห์ทางเคมีของปุ๋ยหมักที่ระยะเวลา 30 และ 60 วัน พบว่าปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่
                  ใส่เชื้อราไฟทอฟธอราผสมปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มา พบว่า ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
                  ของปุ๋ยหมักลดลงจาก 8.20 เป็น 7.93 มีปริมาณอินทรียวัตถุลดลงจาก 83.45 เป็น 31.59 เปอร์เซ็นต์ และมี
                  ปริมาณแมกนีเซียมสูงขึ้นจาก 0.79  เป็น 5.30  เปอร์เซ็นต์ ส าหรับค่าอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน

                  ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแคลเซียม ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ซึ่งสมบัติดังกล่าว
                  ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการรับรองปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

                                                          ข้อเสนอแนะ


                         1. ควรตั้งกองปุ๋ยหมักให้มีความสูงของกองไม่น้อยกว่า 1  เมตร เนื่องจากมีผลการควบคุมอุณหภูมิให้
                  เหมาะสมต่อกระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมจุลินทรีย์ จะเห็นได้ว่าความสูงของกองปุ๋ยหมักในการวิจัยนี้มี
                  ความสูงเพียง 30 เซนติเมตร

                         2.  ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาในกองปุ๋ยหมักเพียงอย่างเดียวและใช้
                  ปูนโดโลไมท์แยกต่างหากเพื่อปูองกันผลกระทบของปูนโดโลไมท์ที่มีผลต่อเชื้อราไตรโคเดอร์มาโดยตรงใน
                  กองปุ๋ยหมัก

                         3. ควรมีการเก็บตัวอย่างวัสดุก่อนการทดลองและหลังจากใส่ปัจจัยต่างๆ ตามต ารับการทดลอง เพื่อ
                  ศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ และสมบัติทางเคมีของปุ๋ยหมัก
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43