Page 35 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 35
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
24
ตารางที่ 8 ปริมาณฟอสฟอรัสของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 30 และ 60 วัน
30 วัน 60 วัน
ต ารับการทดลอง
หลังหมัก หลังหมัก
1. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน 0.63 5.82
2. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา 0.79 7.06
3. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา+ปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ 0.64 6.38
4. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา+ปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ 0.69 6.71
+เชื้อราไตรโคเดอร์มา
F-test ns ns
C.V. (%) 6.24 16.81
หมายเหตุ ns = ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
3.6 ปริมาณโพแทสเซียม (K O) ของปุ๋ยหมัก
2
ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 30 วัน พบว่า มีปริมาณโพแทสเซียมไม่มีความแตกต่างกัน
ทางสถิติ อยู่ในระหว่าง 2.52–3.07 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 60 วัน มีปริมาณ
โพแทสเซียมไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าอยู่ระหว่าง 3.09–4.06 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 9)
ส าหรับปริมาณโพแทสเซียมที่เก็บข้อมูลจากกองปุ๋ยหมักที่ระยะเวลา 30 และ 60 วัน พบว่า
มีปริมาณของโพแทสเซียมเพิ่มขึ้น ซึ่งต ารับที่มีการใส่ปูนโดโลไมท์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มามีผลต่อการเพิ่มขึ้น
ของปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในกองปุ๋ยหมักอยู่ในระดับสูงสุด 4.06 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเชื้อรา
ไตรโคเดอร์มามีการสร้างเอนไซม์เซลลูเลส ไซแลนเนส โปรติเอส และยูรีเอส สามารถย่อยสลายสารประกอบ
คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนจะมีอัตราการสลายตัวเร็ว ท าให้มีการปลดปล่อย
โพแทสเซียมออกมา (เฉลิมชัย และคณะ, 2557) จากผลการทดลอง พบว่า ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนมีปริมาณ
โพแทสเซียมสูงทุกต ารับการทดลอง เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้หมักปุ๋ยมีปริมาณโพแทสเซียมสูง (ตารางภาคผนวกที่
1 2)