Page 29 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          18




                  เพิ่มขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักๆ มาจากที่เชื้อราไตรโคเดอร์มามีประสิทธิภาพในการเข้าท าลายและยับยั้งการ
                  เจริญเติบโตของเชื้อราไฟทอฟธอรา ในขณะที่เชื้อราไตรโคเดอร์มายังคงสามารถเจริญเติบโตและเพิ่มจ านวน
                  เซลล์อยู่ในปุ๋ยหมักได้ดี (Piriyaprin, 2014)


                  ตารางที่ 2 ปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มา (log  no. ต่อกรัมวัสดุ) ของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนที่ระยะเวลา 30
                            และ 60 วัน

                                                                                    30 วัน          60 วัน
                                         ต ารับการทดลอง
                                                                                   หลังหมัก        หลังหมัก

                  1. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน                                           2.20            2.70
                  2. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา                          2.20            2.80

                  3. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา+ปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์   3.17         3.50
                  4. ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน+เชื้อราไฟทอฟธอรา+ปูนโดโลไมท์  2 เปอร์เซ็นต์   5.60        6.17
                     +เชื้อราไตรโคเดอร์มา
                                             F-test                                   **              **

                                             LSD                                     0.81            1.30
                                                0.01
                                            C.V. (%)                                 9.03           12.60
                  หมายเหตุ ** แตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99 เปอร์เซ็นต์ (หรือแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญยิ่ง)

                  2. การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
                         การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักก่อนกลับกองปุ๋ยทุกระยะ 15 วัน โดยวัดอุณหภูมิ
                  ที่ระยะเวลาเริ่มแรก 15 30 45 และ 60 วัน พบว่า การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน

                  ทุกต ารับไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยมีอุณหภูมิที่เริ่มต้นอยู่ในช่วง 30.11-37.00 องศาเซลเซียส (ค่าเฉลี่ย
                  เท่ากับ 33.50 องศาเซลเซียส) และอุณหภูมิเพิ่มขึ้นที่ระยะเวลาหมักนาน 15 วัน โดยมีอุณหภูมิสูงขึ้นอยู่ในช่วง
                  37.57-43.22 องศาเซลเซียส (เฉลี่ย 39.53 องศาเซลเซียส) และหลังจากหมักไปแล้ว 15  วัน อุณหภูมิของ

                  ทุกต ารับจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงระยะเวลาที่ 30 45 จนสิ้นสุดการหมักที่ระยะเวลา 60 วัน มีอุณหภูมิ
                  เฉลี่ยเท่ากับ 36.25 33.72 และ 31.95 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ (ตารางที่ 3)
                         ซึ่งจะพบได้ว่า ต ารับที่มีการใส่ปูนโดโลไมท์ เชื้อราไฟทอฟธอรา และเชื้อราไตรโคเดอร์มา ไม่มีผลต่อ
                  อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมัก การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักระหว่างต ารับ
                  การทดลอง ซึ่งในกระบวนการท าปุ๋ยหมัก อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักมีผลต่อการเจริญของจุลินทรีย์ โดยระยะ

                  เริ่มต้นของการหมักอุณหภูมิมีค่าไม่สูงมาก อยู่ในช่วง 25–45 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นอุณหภูมิของ
                  กองปุ๋ยหมักมีค่าสูงขึ้น เนื่องจากมีการท างานของจุลินทรีย์ ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย และแอคติโนมัยซีส
                  เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิเฉลี่ย 45–65 องศาเซลเซียส และหลังจากนั้นอุณหภูมิจะเริ่มลดลง โดยมีค่าเฉลี่ย

                  ใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมภายนอกกองปุ๋ย หมายถึง กระบวนการย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งพบว่า
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34