Page 28 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
17
1.2 ปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มาของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
ที่ระยะเวลาหมัก 30 วัน จากการศึกษา พบว่า ปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มาแตกต่างกันทางสถิติ
อย่างมีนัยส าคัญยิ่ง โดยต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์
2 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มา มีปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มามากที่สุด 5.60 log no. ต่อกรัมวัสดุ
รองลงมาได้แก่ ต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์
มีปริมาณเชื้อ 3.17 log no. ต่อกรัมวัสดุ ส่วนต ารับปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนเพียงอย่างเดียว และต ารับที่มีการใช้
ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนผสมกับเชื้อราไฟทอฟธอรา มีปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มาไม่แตกต่างกันทางสถิติ และมี
ปริมาณน้อยที่สุด คือ 2.20 log no. ต่อกรัมวัสดุ (ตารางที่ 2)
ที่ระยะเวลาหมัก 60 วัน จากการศึกษา พบว่า ปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มาแตกต่างกันทางสถิติ
อย่างมีนัยส าคัญยิ่ง โดยต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์
2 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มามีปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มามากที่สุด มีค่าเท่ากับ 6.17 log no.
ต่อกรัมวัสดุ รองลงมาได้แก่ ต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์
2 เปอร์เซ็นต์ ต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนผสมกับเชื้อราไฟทอฟธอรา และต ารับปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
เพียงอย่างเดียว มีปริมาณเชื้อไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยมีปริมาณเชื้อ เท่ากับ 3.50 2.80 และ 2.70 log no.
ต่อกรัมวัสดุ ตามล าดับ (ตารางที่ 2)
การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ช่วงเวลาการหมัก 30 และ
60 วัน พบว่า ต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักจากเปลือกทุเรียนอย่างเดียว ต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนผสม
กับเชื้อราไฟทอฟธอรา และต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์
2 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณเชื้อไตรโคเดอร์มาไม่เปลี่ยนแปลง ยกเว้นต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อรา
ไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มา ท าให้เชื้อราไตรโคเดอร์มามีปริมาณ
เพิ่มขึ้นจาก 5.60 เป็น 6.17 log no ต่อกรัมวัสดุ ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อราไตรโคเดอร์มาอาศัยอาหารเพื่อการ
เจริญเติบโตจากการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนที่มีโครงสร้างซับซ้อน เพื่อใช้เป็นอาหารในต ารับที่มีการ
ใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ ที่มีการใช้ปูนโดโลไมท์ร่วมใน
การหมัก และต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์
และเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่มีการใช้ปูนโดโลไมท์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มามีปริมาณของเชื้อราไตรโคเดอร์มาสูง
กว่าอีก 2 ต ารับการทดลอง สาเหตุเนื่องมาจากปูนโดโลไมท์มีธาตุฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และ
แมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบ ซึ่งช่วยในการสร้างเอนไซม์ที่ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช ท าให้การย่อยสลาย
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน เกิดขึ้นได้ดีมากยิ่งขึ้น (Chutichude et al., 2010) และการใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาใน
ต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มา
พบว่า มีปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์ในปริมาณที่สูงกว่าต ารับอื่นๆ อย่างชัดเจน ส่วนในต ารับการทดลองที่ไม่มีการ
ใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มา มีการพบเชื้อราไตรโคเดอร์มาเนื่องจากเชื้อชนิดนี้สามารถอาศัยในธรรมชาติได้
(Hermosa et al, 2012) และอาจติดมากับเปลือกทุเรียนที่น ามาหมักร่วมกับมูลไก่ไข่โดยที่ไม่ได้มีการนึ่งฆ่าเชื้อ
(Hutchinson., 1999) เป็นที่น่าสังเกตว่า ในขณะที่เชื้อราไฟทอฟธอรามีแนวโน้มลดลง เมื่อระยะเวลาหมัก