Page 26 - ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          15




                                                    ผลการทดลองและวิจารณ์

                         จากการศึกษาการใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาและปูนโดโลไมท์ต่อการควบคุมปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอรา

                  ของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน มีผลการศึกษาวิจัยมีดังนี้
                  1. สมบัติทางชีวภาพของปุ๋ยหมัก
                         จากการเก็บตัวอย่างปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนทั้ง 4 ต ารับ ที่ระยะเวลาการหมัก 30 และ 60 วัน
                  เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอรา และเชื้อราไตรโคเดอร์มา ได้ผลดังนี้
                         1.1 ปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน

                             ที่ระยะเวลาหมักปุ๋ย 30 วัน จากการศึกษาพบว่าปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราแตกต่างกันทางสถิติ
                  อย่างมีนัยส าคัญยิ่ง โดยต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนผสมกับเชื้อราไฟทอฟธอรา มีปริมาณเชื้อรา
                  ไฟทอฟธอรามากที่สุด คือ 6.17 log no. ต่อกรัมวัสดุ รองลงมาได้แก่ ต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่

                  เชื้อราไฟทอฟธอรา ร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ มีเท่ากับ 3.37 log no. ต่อกรัมวัสดุ ส่วนต ารับที่มีการใช้
                  ปุ๋ยหมักจากเปลือกทุเรียนอย่างเดียว มีเท่ากับ 2.33 log  no. ต่อกรัมวัสดุ และต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมัก
                  เปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอรา ร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มา มีปริมาณ
                  เชื้อราไฟทอฟธอราต่ าที่สุด เท่ากับ 0.83 log no. ต่อกรัมวัสดุ (ตารางที่ 1)

                             ที่ระยะเวลาหมักปุ๋ย 60 วัน จากการศึกษาปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราของปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียน
                  พบว่า มีปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอรา แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยส าคัญยิ่ง โดยต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือก
                  ทุเรียนผสมกับเชื้อราไฟทอฟธอรา มีปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอรามากที่สุด เท่ากับ 4.80 log  no. ต่อกรัมวัสดุ
                  รองลงมาได้แก่ ต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอรา ร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์

                  ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติกับต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมักจากเปลือกทุเรียนเดียวอย่างเดียว มีปริมาณเชื้อรา
                  ไฟทอฟธอรา มีค่าเท่ากับ 3.03 และ 2.23 log  no. ต่อกรัมวัสดุ ตามล าดับ  ส่วนต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมัก
                  เปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอรา ร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มา มีปริมาณ
                  เชื้อราไฟทอฟธอราน้อยที่สุด คือ 0.33 log no. ต่อกรัมวัสดุ (ตารางที่ 1)

                             จากการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราที่ช่วงเวลาการหมัก 30 และ
                  60 วัน พบว่า ปริมาณเชื้อราไฟทอปธอราของต ารับที่ใช้ปุ๋ยหมักจากเปลือกทุเรียนอย่างเดียว ต ารับที่มีการใช้
                  ปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ และต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมัก

                  เปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มา ไม่เปลี่ยนแปลง
                  มากนัก ในขณะที่ต ารับการทดลองที่ใช้ปุ๋ยหมักจากเปลือกทุเรียนร่วมกับเชื้อราไฟทอฟธอรา พบว่า ปริมาณ
                  เชื้อราไฟทอฟธอราที่ช่วงเวลาหมัก 60 วัน มีจ านวนลดลงเมื่อเปรียบเทียบจากค่าที่ตรวจวัดที่ช่วงเวลาหมัก
                  30 วัน ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า การใส่ปูน และเชื้อราไตรโคเดอร์มา ในต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมัก
                  เปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ และต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมัก

                  เปลือกทุเรียนใส่เชื้อราไฟทอฟธอราร่วมกับปูนโดโลไมท์ 2 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มา มีผลในการ
                  ยับยั้งปริมาณเชื้อราไฟทอฟธอราในปุ๋ยหมัก ซึ่งสอดคล้องกับ เสียงแจ๋ว (2549) และกนกนาฏ (2540)
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31