Page 22 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        12







                       ในดินเพิ่มขึ้น มากกว่าการไม่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี และขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของปุ๋ยที่ใช้
                       ความถี่ในการใส่และอัตราการสลายตัวขององค์ประกอบของปุ๋ย ดินร่วนซุยขึ้น รากของพืชผัก

                       เจริญเติบโตได้เร็ว แตกแขนงกระจายไปได้มาก มีระบบรากที่สมบูรณ์ท าให้สามารถดูดซับแร่ธาตุ
                       อาหารได้รวดเร็ว (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2549)

                                              2) สมบัติทางเคมี อินทรียวัตถุในดินเป็นสารที่มีความสามารถในการดูดซับ
                       ไอออนบวกได้สูงมาก  จึงมีผลท าให้ดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุสูงมีความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลง

                       ของค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินได้ดี (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2544) นอกจากนี้

                       อินทรียวัตถุหรือสารอินทรีย์ ยังสามารถเจือจางความเข้มข้นของไอออนในบริเวณรอบๆ จึงช่วย
                       ควบคุมปฏิกิริยาทางเคมีในดินไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ช่วยให้พืชเจริญเติบโต

                       สม่ าเสมอดีขึ้น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะเกิดผลดีทั้งต่อสมบัติทางกายภาพ

                       และสมบัติทางเคมีของดิน ท าให้การเจริญเติบโตและผลผลิตพืชดีขึ้นธาตุอาหารค่อยๆ ถูกปลดปล่อย
                       ให้พืชอย่างช้าๆ จึงลดการสูญเสียธาตุอาหาร และบางส่วนของโมเลกุลที่มีลักษณะซับซ้อน อาจรวมตัว

                       กับไอออนต่างๆ เกิดเป็นฮิวมัส ซึ่งเป็นองค์ประกอบของอินทรียวัตถุในดิน และส่งผลต่อความอุดม
                       สมบูรณ์และระบบนิเวศน์ของดิน (ปราณี และคณะ, 2558)

                                                 3) สมบัติทางชีวภาพ  จุลินทรีย์ในดินมีหลากหลายชนิด ได้แก่แบคทีเรีย
                       แอคติโนมัยซีส รา ไมคอไรซา เป็นต้น หากมีจุลินทรีย์ดินในปริมาณที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้กิจกรรมทาง

                       ชีวเคมีในดินเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารในรูปต่างๆ ไว้ไม่ให้สูญหายไปในเวลา

                       อันสั้น การใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ในดิน เป็นการเพิ่มแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ ท าให้จุลินทรีย์มี
                       ปริมาณมากขึ้น และท าให้มีกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ

                       การเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดิน เช่นการย่อยสลายอินทรีย์สาร การแปรสภาพของอนินทรียสาร

                       จากรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ ให้เป็นประโยชน์ต่อพืชและพืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย การใส่ปุ๋ย
                       หมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ยังท าให้ปริมาณแบคทีเรียเพิ่มขึ้น ซึ่งการเพิ่มจ านวนแบคทีเรียมากขึ้น มีผลช่วย

                       ยับยั้งการเจริญและความสามารถในการก่อให้เกิดโรคพืชของเชื้อโรค โดยเฉพาะบริเวณรากพืช มีผล
                       ให้พืชเกิดโรคน้อยลง นอกจากนี้ พบว่าการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยควบคุมปริมาณไส้เดือน

                       ฝอยให้ลดน้อยลง ขณะเดียวกันการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่สูง จะมีผลให้ปริมาณไส้เดือนฝอยในดิน
                       เพิ่มขึ้น ดังนั้นการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะช่วยท าให้ปริมาณของไส้เดือนฝอยลด

                       น้อยลง (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551ข)

                                  3.3  ปุ๋ยชีวภาพ หมายถึง ปุ๋ยซึ่งประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่คัดเลือกแล้วว่าเป็นสายพันธุ์ดี
                       (Active  strains) และมีจ านวนประชากรที่มากพอ เมื่อน าไปคลุกเมล็ด ท่อนพันธุ์ หรือใส่ลงดิน

                       จุลินทรีย์ดังกล่าวจะเพิ่มประชากร และสร้างกลุ่มหรือโคโลนี (colony) ในดินรอบผิวราก
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27