Page 17 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 17
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
7
2.3 การสูญเสียธาตุอาหารจากดิน ธาตุอาหารพืชสูญเสียไปจากดินได้เนื่องจากสาเหตุ 2
ประการได้แก่ จากการที่พืชดูดไปใช้ในการเจริญเติบโต และติดไปกับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวออกไปจาก
แปลง และจากการสูญเสียไปจากดินโดยการชะล้าง (Leaching) การกร่อน การระเหย หรือถูกเปลี่ยน
รูปเป็นก๊าซ (ธาตุไนโตรเจน) การดูดตรึง (ธาตุโพแทสเซียมในแร่ดินเหนียว)
ธาตุไนโตรเจน จัดเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก พืชได้รับจากดินซึ่งมักมีไม่
เพียงพอต่อความต้องการของพืช เป็นธาตุที่มีอยู่ในอากาศในรูปของก๊าซไนโตรเจนเป็นจ านวนมาก แต่
+
พืชน าไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ รูปของไนโตรเจนที่พืชดูดไปใช้ได้คือ แอมโมเนียมไอออน (NH ) และไนเต
4
-
รทไอออน (NO ) ซึ่งได้จากการสลายตัวของอินทรียวัตถุโดยจุลินทรีย์ในดิน และจากการใส่ปุ๋ยเคมี
3
เป็นธาตุส าคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ที่เมื่อได้รับอย่างเพียงพอ ใบจะมีสีเขียวสด ล าต้นแข็งแรง
โตเร็ว ออกดอกและติดผลสมบูรณ์ หากพืชได้รับมากเกินความจ าเป็นจะเกิดผลเสีย คือ พืชอวบน้ า
มาก ต้นอ่อน ล้มง่าย อ่อนแอต่อโรคและแมลง ท าให้ผลิตผลเสียหาย แต่ส่งผลดีต่อพืชผักรับประทาน
ใบ ท าให้ต้นอ่อน อวบน้ า และกรอบ มีเส้นใยน้อย และมีน้ าหนักดี แต่เน่าเสียได้ง่าย แมลงชอบเข้า
ท าลาย การขาดธาตุไนโตรเจนจะท าให้ต้นพืช แคระแกร็น โตช้า ใบเหลือง โดยใบล่างจะแห้ง ร่วงหล่น
เร็วผิดปรกติ ออกดอกติดผลช้า ซึ่งการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีปริมาณไนโตรเจนสูง มีอัตราการเจริญเติบโตและ
ผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยที่มีปริมาณไนโตรเจนต่ า (ยงยุทธ และคณะ,2556)
นอกจากนี้ ธาตุไนโตรเจนเป็นธาตุที่มีบทบาทส าคัญในการเจริญเติบโตของพืชโดยเฉพาะ
ผักคะน้าซึ่งเป็นผักที่กินใบ และล าต้น เป็นพืชอายุสั้น จึงต้องการธาตุไนโตรเจนสูงกว่าพืชทั่วไปซึ่ง
บุญชัย (2554) รายงานว่า คะน้าเป็นผักกินใบและล าต้น จึงต้องการธาตุไนโตรเจนในปริมาณสูง อีกทั้ง
ธาตุไนโตรเจนยังเป็นองค์ประกอบของสารชีวโมเลกุลที่ส าคัญในพืชหลายชนิด ซึ่งมีผลต่อการ
เจริญเติบโต และคุณภาพของผลผลิต คะน้าเป็นพืชผักที่ให้ผลตอบแทนเร็ว และเป็นผักที่นิยมบริโภค
กันแพร่หลาย ตลาดมีความต้องการในปริมาณมาก ดังนั้นคะน้าจึงเป็นผักที่เกษตรกรเลือกปลูกมาก
จึงท าให้เกษตรกรที่ผลิตผักคะน้ามีการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่สูงและใช้ในปริมาณมาก โดยเฉพาะปุ๋ยที่มี
ธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบในรูปของ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพ เนื่องจากคะน้าที่ได้รับ
ปริมาณไนโตรเจนสูง ส่งผลให้ใบพืชอวบน้ า มีปริมาณเส้นใยน้อยและมีน้ าหนักสูง จากรายงาน
ของวรรณิศาและพรไพรินทร์ (2557) ได้ศึกษาปริมาณผลผลิตรวม ค่าประสิทธิภาพการผลิตพืชและ
ปริมาณเส้นใย พบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุไนโตรเจนสูงมีอัตราการเจริญเติบโตและผลผลิตสูงกว่าการ
ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนต่ า