Page 24 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        14







                                     ยอด และดอก บริเวณที่ถัดจากใบสุดท้ายที่เติบโตแยกออกมาอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะ
                       เป็นส่วนของยอดที่มีลักษณะเป็นใบอ่อนขนาดเล็ก 2-3 ใบ มีลักษณะคล้ายบัวตูมขนาดเล็ก สีเขียว

                       อ่อน รอที่จะเติบโตเป็นใบแก่ ถือเป็นส่วนที่นิยมน ามาบริโภคมากที่สุด
                                     ราก รากของคะน้า ประกอบด้วยรากแก้วขนาดใหญ่ต่อจากล าต้นมีสีขาวออกน้ าตาล

                       เล็กน้อย หยั่งลึกประมาณ 10-30 เซนติเมตร ตามสภาพลักษณะหน้าดินและรากฝอยสีน้ าตาลอ่อนซึ่ง
                       พบไม่มาก


                               4.2  การปลูก และดูแลรักษา

                                       4.2.1 การเตรียมดิน ด้วยคะน้าเป็นผักที่มีระบบรากตื้น การเตรียมดินปลูกควรขุดดิน

                       ให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วน าปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าให้เข้า
                       กับดิน พรวนดินและย่อยหน้าดินให้ร่วนซุยและมีขนาดเล็ก ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุง

                       ดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการปลูกผัก การปลูกคะน้าสามารถปฏิบัติได้ 2 ลักษณะ คือ

                                            1) ปลูกลงแปลง โดยไถดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร พรวนและย่อยดิน
                       ให้ละเอียด ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้เข้ากัน หยอดเมล็ดลงบนแปลงระยะห่างระหว่าง

                       หลุม 25 เซนติเมตร ระหว่างแถว 50 เซนติเมตร จ านวน 3-5 เมล็ด กลบดินหนา 0.5 เซนติเมตร

                       ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุมที่อายุ 15-20 วัน
                                            2) ปลูกด้วยการย้ายกล้า โดยเพาะกล้าในถาดหลุมและย้ายกล้าเมื่อ มีอายุ 25

                       วัน ถ้าปลูกฤดูฝนควรยกแปลงให้สูง 30-50 เซนติเมตร เพื่อการระบายน้ า และฤดูร้อน ควรให้น้ า
                       อย่างสม่ าเสมอหากคะน้าขาดน้ าจะท าให้คะน้าแคระแกร็นได้

                                       4.2.2 การให้น้ า คะน้าต้องการน้ าอย่างเพียงพอและสม่ าเสมอ สามารถให้น้ า โดยใช้
                       บัวรดน้ าหรือเครื่องฉีดฝอย 2 ครั้งในช่วงเช้าและเย็น  และมีการพรวนดินก าจัดวัชพืชอย่างสม่ าเสมอ

                                       4.2.3 การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 หลังย้ายกล้าปลูก 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หลังจากใส่

                       ครั้งแรก 10-15 วัน และการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 หลังการใส่ครั้งที่ 2 จ านวน 10 วันในช่วงการเจริญเติบโต
                       ของคะน้า

                                                4.2.4 การเก็บเกี่ยวคะน้า จะเก็บเกี่ยวที่อายุ 45-55 วันหลังย้ายปลูก จะได้ต้นคะน้าอ่อน หรือ
                       ที่เรียกว่า ยอดคะน้า จากการถอนแยก ที่อายุประมาณ 30 วัน (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551)
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29