Page 21 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        11







                       ประกอบด้วยธาตุรอง โดยเฉพาะธาตุแคลเซียม (Ca) ท าให้ต้นพืชแข็งแรง ต้านทานต่อการเข้าท าลายของ
                       โรคพืช และมีจุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเปลี่ยนธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่พืชใช้ประโยชน์ได้

                       ประกอบด้วย จุลินทรีย์เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายเซลลูโลสของพืช จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายโปรตีน
                       ไขมัน และฟอสเฟต ลดการสูญเสียไนโตรเจนและลดกลิ่นแอมโมเนีย และจุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ

                       การปลดปล่อยฟอสฟอรัสจากวัตถุดิบที่ใช้ท าปุ๋ยหมัก เช่น หินฟอสเฟต และกระดูกป่น (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551ข)
                                            ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงมีธาตุอาหารสูง เป็นแหล่งธาตุอาหาร

                       รองและจุลธาตุแก่พืช มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อดินและพืชมีการปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช

                       อย่างช้าๆ ท าให้ลดการสูญเสียธาตุอาหารจึงเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในการลดหรือทดแทนการใช้
                       ปุ๋ยเคมีและเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ จึงท าให้ลดต้นทุนในการผลิต  การผลิตปุ๋ยอินทรีย์

                       คุณภาพสูง สูตรกรมพัฒนาที่ดินมีปริมาณธาตุอาหารหลักแต่ละชนิด ได้แก่สูตรไนโตรเจนสูง และสูตร

                       ฟอสฟอรัสสูง จะท าให้มีการใส่ปุ๋ยได้ตรงตามความต้องการของพืช ซึ่งจะท าให้เกษตรกรประหยัดการ
                       ใช้ปุ๋ย ลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตพืช

                                            กรมพัฒนาที่ดินได้สรุปชนิดและอัตราส่วนของวัตถุดิบที่เหมาะสม
                       เพื่อน ามาผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ดังนี้ กากถั่วเหลือง ร าข้าว มูลสัตว์ หินฟอสเฟต กระดูกป่น และ

                       มูลค้างคาว โดยใช้อัตราส่วนของวัตถุดิบในแต่ละชนิดสามารถก าหนดสูตรปุ๋ยได้ 5 สูตร โดยมีปริมาณ
                       ไนโตรเจน 3 -  4  เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 5 -  9  เปอร์เซ็นต์ และโพแทสเซียม  1-2  เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง

                       เกษตรกรหรือผู้ผลิตสามารถเลือกผลิตได้ตามปริมาณและชนิดของวัตถุดิบที่มีในพื้นที่ (กรมพัฒนา

                       ที่ดิน, 2558ข)
                                      3.2.2 ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยปรับปรุงสมบัติดิน ดังนี้

                                             1) สมบัติทางกายภาพ อินทรียวัตถุในปุ๋ยอินทรีย์ ช่วยเพิ่มความสามารถในการ

                       อุ้มน้ า และมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคที่พอเหมาะ ซึ่ง Gosling et al. (2005) รายงานว่าการเพิ่ม
                       อินทรียวัตถุลงในดินในรูป ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ท าให้สมบัติทางด้าน

                       กายภาพของดินดีขึ้น เนื่องจากอินทรียวัตถุช่วยยึดจับอนุภาคดินให้จับตัวกันเป็นก้อน (aggregation)
                       ท าให้สมบัติทางกายภาพของดิน เช่น โครงสร้างของดิน (soil  structure) ความหนาแน่น (bulk

                       density) ความสามารถในการอุ้มน้ า (water  holding  capacity) การระบายน้ า และความพรุน
                       (porosity) และการซึมผ่านของน้ าลงไปในดิน (permeability) ของดินดีขึ้น สอดคล้องกับการทดลอง

                       ของ ปิโยรส (2547) ศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตคะน้า (Brassisa  oleracea  L.)

                       พันธุ์อาร์เอส 1 และสมบัติบางประการของดิน พบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีผลท าให้ความหนาแน่นรวม
                       ของดินลดลง และความพรุนรวมของดินเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่าง

                       ของดิน ค่าการน าไฟฟ้าของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน และปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดินและ

                       การใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 250 และ 1,000 กรัม ต่อตารางเมตร ท าให้ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26