Page 20 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        10







                                     3.2.1 ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์
                                            1) ปุ๋ยคอก (Farmyard manure) หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากสิ่งขับถ่ายของ

                       สัตว์ ซึ่งได้แก่ มูลไก่ มูลสุกร มูลโค มูลกระบือ มูลแพะ มูลแกะ มูลกระต่าย เป็นต้น ปุ๋ยอินทรีย์เป็น
                       แหล่งของอินทรียวัตถุ มีธาตุอาหารหลักและรอง ที่จ าเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ช่วยในการ

                       ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น หากน าไปใช้ในการเพาะปลูกทางการเกษตร (ปราโมทย์,
                       2554) คุณสมบัติของมูลสัตว์เหล่านี้จะประกอบไปด้วยธาตุอาหารมากหรือน้อยขึ้น อยู่กับชนิดของ

                       อาหารที่สัตว์กินเข้าไป  มูลสัตว์ที่รวบรวมมาได้ถ้ามีความชื้นสูง จะมีการย่อยสลายของอินทรียวัตถุ

                       ท าให้ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดลดน้อยลง  ดังนั้น ก่อนน ามาใช้ควรน ามาท าให้แห้งสนิทแล้วกอง
                       รวบรวมกันไว้ตามเวลาที่ต้องการ

                                            2) ปุ๋ยหมัก (Compost manure)  หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการน าวัสดุ

                       อินทรีย์ชนิดต่างๆ มาผ่านกระบวนการหมักจนย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์ แต่การย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์
                       ของปุ๋ยหมักขึ้นอยู่กับระยะเวลา  ชนิดของวัสดุที่ใช้  และกรรมวิธีในการหมักตลอดจนความต้องการ

                       ของผู้ใช้  ซึ่งการผลิตปุ๋ยหมักสามารถท าได้โดยการน าวัสดุและมูลสัตว์ผสมกันอัตรา  1:1 ให้ความชื้น
                       เริ่มต้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ท ากองสูงประมาณ 1 เมตร คลุมกองด้วยพลาสติก ท าการกลับกอง

                       ทุกๆ 7 วัน ระหว่างหมักในช่วง 7-20 วัน อุณหภูมิภายในกองต้องสูงถึง 60-70 องศาเซลเซียส เพื่อฆ่า
                       จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคของคนและสัตว์ เมล็ดวัชพืชต่างๆ  กระบวนการหมักจะสิ้นสุดลงภายใน  4-5

                       สัปดาห์ คือ มีอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ประมาณ 20:1 และอุณหภูมิจะลดลง

                       เหลือประมาณ 35-45 องศาเซลเซียส (นันทกร และคณะ, 2553) วัสดุที่น ามาท าปุ๋ยอินทรีย์ที่มีการ
                       ย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์แล้วจะมีลักษณะเปื่อยยุ่ย สีน้ าตาล-ด า มีกลิ่นคล้ายดิน (อภิรักษ์, 2549)

                                            3) ปุ๋ยพืชสด (Green manure) หมายถึง  ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการไถกลบพืช

                       สดๆ  ที่โตได้ขนาดที่เหมาะสมลงในดิน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุหรือฮิวมัสให้แก่ดิน
                       ในขณะเดียวกันเป็นการเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้แก่ดิน ธาตุอาหารในพืชปุ๋ยสดจะถูกย่อยสลายและ

                       ปลดปล่อยให้พืชหลังจากผ่านการย่อยสลายในดิน ระยะเวลาที่เหมาะสมในการไถกลบพืชเป็นปุ๋ย
                       พืชสด  คือระยะเวลาออกดอกเต็มที่ ส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้พืชตระกูลถั่วเพราะพืชประเภทนี้สามารถ

                       ตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ประโยชน์ได้ พืชที่นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในประเทศไทย ได้แก่
                       ปอเทือง ถั่วลาย ถั่วเขียวเมล็ดเล็ก โสนชนิดต่างๆ ถั่วกระด้าง หรือพืชอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพืชโต

                       เร็วที่มีลักษณะง่ายต่อการไถกลบ

                                             4) ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง (High quality organic fertilizers) หมายถึง ปุ๋ยที่
                       ได้จากการน าวัสดุอินทรีย์หรือ อินทรียวัตถุธรรมชาติทางการเกษตรที่มีธาตุอาหารสูง ผ่านการหมักจน

                       สลายตัวสมบูรณ์ หรือ น าปุ๋ยหมักที่สลายตัวสมบูรณ์แล้วผสมกับวัสดุอินทรีย์ หรือ อินทรีย์ธรรมชาติ

                       ทางการเกษตรที่มีธาตุอาหารสูงได้แก่ กระดูกป่น มูลค้างคาว หรือ หินฟอสเฟต เป็นต้น นอกจากนี้ยัง
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25