Page 26 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 26
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
16
การใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยยูเรีย ท าให้ได้ผลผลิตของคะน้ามากที่สุด คะน้าที่ใส่ปุ๋ยชีวภาพ 3
สูตร และที่ใส่ปุ๋ยชีวภาพร่วมกันทั้ง 3 สูตรให้ผลผลิตไม่มีความแตกต่างกับคะน้าที่ไม่ใส่ปุ๋ย
ทิพย์วรรณ และคณะ (2556) ศึกษาผลของชนิดปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต
ของคะน้าการชะละลายไนเตรท และปริมาณไนตริฟายอิงแบคทีเรียในดิน พบว่าชนิดของปุ๋ย
ไนโตรเจนมีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้าฮ่องกงที่แตกต่างกัน โดยการใส่ยูเรียร่วมกับ
สารยับยั้งขบวนการไนตริฟิเคชั่น ส่งผลให้พืชมีความสูง น้ าหนักสด และปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดใน
พืชมากที่สุด ส่วนการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนละลายช้า UBER-7 ส่งผลให้มีการชะละลายไนเตรทน้อยที่สุด
สัญญา และอรประภา (2559) ศึกษาประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการ
เจริญเติบโตและให้ผลผลิตของผักคะน้า ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
สูตร 1 กรมพัฒนาที่ดินและมูลไก่หมักคุณภาพสูง และอัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 3 ระดับคือ
1 2.5 และ 5 กรัมไนโตรเจนต่อดิน 5 กิโลกรัม พบว่า ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงท าให้ต้นคะน้ามี
ปริมาณน้ าหนักสดและน้ าหนักแห้งไม่แตกต่างกันทางสถิติ ขณะที่ผลดังกล่าว มีค่าแปรผันตามระดับ
ไนโตรเจนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส าคัญ ซึ่งการให้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 2 ชนิดที่ระดับ 2.5 และ 5 กรัม
ไนโตรเจน ท าให้ต้นคะน้ามีน้ าหนักสดต่อต้น จ านวนใบและพื้นที่ใบมากกว่าสิ่งทดลองควบคุมที่ให้
ปุ๋ยเคมีร่วมกับมูลโค ระดับ 1 กรัม ไนโตรเจนต่อดิน 5 กิโลกรัม
สายชล และคณะ (2555) ได้ศึกษา ผลการใช้ปุ๋ยมูลวัว ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีต่อการผลิตผักบุ้งจีน พบว่า
วิธีการที่ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี มีการเจริญเติบโตต่ ากว่าวิธีการใส่ปุ๋ยเคมีและการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ โดยที่การใส่
ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยมูลวัว 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีการเจริญเติบโตสูงสุด วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน
ให้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 2,564 กิโลกรัมต่อไร่ มีต้นทุนเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่วิธีการไม่ใส่
ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ (แปลงควบคุม) ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่ าสุด เท่ากับ 494 กิโลกรัมต่อไร่ แต่มีต้นทุนเฉลี่ย
เท่ากับ 17.78 บาทต่อกิโลกรัม และเมื่อขายผลผลิตราคา 20 บาทต่อกิโลกรัม การไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ได้ก าไรเฉลี่ย
เท่ากับ 1,370 บาทต่อไร่ ขณะที่การใส่ปุ๋ยเคมีได้ก าไรเฉลี่ยเท่ากับ 39,269 บาทต่อไร่
ปานชีวัน และคณะ (2557) ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบ ารุงดินลูกรังและเพิ่ม
ผลผลิตข้าวโพดหวาน พบว่าดินหลังจากใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ในทุกต ารับท าให้ปริมาณธาตุอาหารหลักที่เป็น
ประโยชน์และปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับต ารับควบคุม โดยที่การใช้ปุ๋ย
อินทรีย์มูลขี้ไก่อัดเม็ดสูตร 2 อัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ท าให้ปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นมากที่สุด
การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน และค่าการน าไฟฟ้าของ
ดิน แต่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณธาตุหลัก ตลอดจนอินทรียวัตถุและช่วยปรับปรุงสมบัติ
กายภาพของดิน การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ทุกอัตราส่งผลให้ผลผลิตข้าวโพดหวานเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบ
กับการไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์