Page 23 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        13







                       (rhizosphere) ที่ผิวรากและหรือในราก แล้วส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้รากพืชได้รับธาตุ
                       อาหารมากขึ้น ซึ่งยงยุทธ (2552) แบ่งปุ๋ยชีวภาพเป็น 2 ประเภท

                                     3.3.1 ปุ๋ยชีวภาพชนิดเพิ่มธาตุอาหารในดิน ประกอบด้วยจุลินทรีย์ ที่ตรึง
                       ก๊าซไนโตรเจน (nitrogen  fixing  microorganisms) เป็นหลัก และจุลินทรีย์ใช้เอนไซม์ไนโตรจีเนส

                       (Nitrogenase) เร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเป็นแอมโมเนีย (NH ) ซึ่งเป็นรูปที่
                                                                                              3
                       จุลินทรีย์และพืชใช้ประโยชน์ แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มด ารงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกับอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่ง

                       (symbiosis) และกลุ่มด ารงชีวิตแบบอิสระ

                                       3.3.2 ปุ๋ยชีวภาพชนิดส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช มี 2 ประเภท
                                            1) ไรโซแบคทีเรีย ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช จุลินทรีย์ประเภทนี้มี

                       บทบาทต่อการเจริญเติบโตของพืชหลากหลาย และแตกต่างกันไป

                                            2) ปุ๋ยชีวภาพ ส่งเสริมประสิทธิภาพการหาอาหารของรากพืช เช่น เชื้อรา
                       ไมคอร์ไรซา (Micorrhiza    fungi) และจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต (phosphate       soluble

                       microorganism)

                       4.  คะน้า (Chinese Kale)


                                คะน้า  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica  oleracea var.  alboglabra    เป็นพืชในตระกูล
                       Cruciferae เป็นผักที่ปลูกเพื่อบริโภคใบและล าต้น สูงประมาณ 35-50 เซนติเมตร มีถิ่นก าเนิดในทวีป

                       เอเชีย ปลูกมากในประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย และประเทศไทย คะน้าเป็นผักที่ส าคัญทาง
                       เศรษฐกิจเป็นผักอายุ  2  ปี นิยมปลูกเป็นผักฤดูเดียว มีอายุตั้งแต่หว่านจนถึงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ

                       45-55 วัน สามารถปลูกได้ตลอดปี เวลาที่ปลูกได้ผลดีที่สุดคือช่วงเดือน ตุลาคม-เมษายน (เมืองทอง
                       และสุรีย์รัตน์, 2532)


                               4.1  พันธุ์คะน้า พันธุ์คะน้าที่นิยมปลูกในประเทศไทย ได้แก่ พันธุ์ใบกลม และพันธุ์ใบแหลม
                                       คะน้าพันธุ์บางบัวทอง 35 เป็นพันธุ์ที่น ามาใช้ในการทดลองครั้งนี้ จัดเป็นคะน้าพันธุ์

                       ใบกลม ซึ่งมีลักษณะส าคัญดังนี้

                                     ล าต้น ขนาดใหญ่ ข้อถี่ปานกลาง ก้านใบชูขึ้นไม่หักง่าย สะดวกในการขนส่ง ปลูกได้
                       ตลอดปี ล าต้นมีลักษณะตั้งตรง สูง 20-30 เซนติเมตร และมีลักษณะแข็งแรง อวบใหญ่ มีสีเขียวนวล

                       นิยมน ามาบริโภคมาก รองลงมาจากการบริโภคยอดอ่อน
                                     ใบ มีใบหนา ลักษณะใบของคะน้ามีหลายลักษณะตามสายพันธุ์ที่ปลูก เช่นคะน้าใบ

                       กลม คะน้าใบแหลม บางพันธุ์มีลักษณะก้านใบยาวหรือสั้น การแตกของใบจะแตกออกจาก ล าต้น

                       เรียงสลับกัน 4-6 ใบต่อต้น ผิวใบมีลักษณะเป็นคลื่น ผิวเป็นมัน สีเขียวอ่อนถึงเขียวแก่ ถือเป็นส่วน
                       ของต้นที่นิยมน ามาบริโภครองลงมาจากส่วนยอด
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28