Page 25 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        15







                               4.3  ความต้องการธาตุอาหารของคะน้า

                                     พืชผักจัดเป็นพืชฤดูเดียว อายุสั้นสามารถปลูกติดต่อกันได้ตลอดทั้งปี หรือปลูก

                       หมุนเวียนกับพืชชนิดอื่น มีสภาพการใช้ปุ๋ยในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน เนื่องจากพืชผักมีความต้องการ
                       ธาตุอาหารในปริมาณสูง เช่น การปลูกผักตระกูลคะน้า 1 ฤดู ต้องการธาตุอาหารประกอบด้วย

                       ไนโตรเจน  9-16 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสฟอรัส  1.5-2 กิโลกรัมต่อไร่ และโพแทสเซียม  15-25 กิโลกรัม
                       ต่อไร่ การปลูกผักชนิดเดียวติดต่อกันเวลานาน ไม่มีการปลูกพืชอื่นหมุนเวียน จึงท าให้มีการใช้ปุ๋ยใน

                       อัตราสูงอย่างต่อเนื่องและติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี เกิดการสะสมธาตุอาหาร ในดินมากขึ้น
                       พบว่า การปลูกผักติดต่อนานกว่า 5 ปี อาจเกิดภาวะดินมีการสะสมธาตุฟอสฟอรัสมากเกินไป ท าให้มี

                       ปริมาณธาตุฟอสฟอรัสสะสมในดินเพิ่มขึ้นถึง 539 ส่วนในล้าน ท าให้เกิดผลกระทบต่อธาตุอาหารเสริม

                       บางธาตุ เช่น ดินขาดธาตุเหล็ก  ที่มีผลท าให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุทองแดง และธาตุสังกะสีใน
                       ดินลดลง และอาจท าให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุแมงกานีส (Mn) เพิ่มขึ้น และมีผลต่อปริมาณของ

                       ธาตุโบรอน (B) และโมลิบดินัม (Mo) ในพืชอีกด้วย (กรมวิชาการเกษตร, 2548)

                              คะน้าเป็นผักที่กินใบและล าต้น จึงต้องการธาตุอาหารสูงกว่าพืชโดยทั่วไปโดยเฉพาะธาตุ
                       ไนโตรเจน การใส่ปุ๋ยคะน้าจึงควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง ค าแนะน าการใส่ปุ๋ยเคมีของคะน้าคือ ใส่ปุ๋ย

                       ไนโตรเจนอัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่ ในกรณีที่ต้องการแนะน าให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี ถ้าปุ๋ยอินทรีย์
                       มีปริมาณธาตุไนโตรเจน เท่ากับ 1 เปอร์เซ็นต์  ดังนั้นเพื่อให้ได้ธาตุไนโตรเจนที่เพียงพอกับความ

                       ต้องการของผักคะน้า จึงต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 4,000  กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อใส่ปุ๋ยคอกควรคลุกเคล้า
                       ดินให้ทั่วแปลงในช่วงการเตรียมดิน เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์มีการย่อยสลายเกิดขึ้นอย่างช้าๆ จึงไม่

                       สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารได้ทันเวลากับที่ผักคะน้าต้องการ จึงต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์มากกว่าอัตรา

                       4,000 กิโลกรัมต่อไร่ ธาตุไนโตรเจนเป็นธาตุที่ผักต้องการมาก หลังการถอนแยกหรือการย้ายปลูกแล้ว
                       จึงควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง โดยมีสัดส่วน N:P:K คิดเป็น 2:1:1 เช่น สูตร 12-8-8 หรือ 20-11-11 ใน

                       อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและปริมาณปุ๋ยคอก แบ่งใส่ 2 ครั้งๆ ละ

                       เท่าๆ กัน โดยใส่หลังจากถอนแยกครั้งแรก และหลังการถอนแยกครั้งที่ 2  (กรมส่งเสริมการเกษตร,
                       2551)

                       5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตของคะน้าและพืชอื่น


                               วัชรินทร์ (2544) ได้ท าการศึกษาผลของปุ๋ยชีวภาพต่อการสร้างผลผลิตของคะน้า โดย
                       เปรียบเทียบผลของปุ๋ยชีวภาพ 3 สูตร ได้แก่ ปุ๋ยชีวภาพชนิดน้ า ปุ๋ยชีวภาพชนิดน้ าส าหรับปรับสภาพ

                       ดิน และปุ๋ยชีวภาพชนิดส าหรับป้องกันและก าจัดโรคพืช ที่มีผลต่อการสร้างผลผลิตของคะน้า โดย

                       เปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยยูเรีย อัตรา 25 กิโลกรัม
                       ต่อไร่ และการไม่ใส่ปุ๋ย พบว่า ผลผลิตของคะน้าที่ได้มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยส าคัญ โดย
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30