Page 19 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
9
(2) ปุ๋ยไนโตรเจนประเภท อนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ปัจจุบันนิยม
ใช้กันอย่างแพร่หลายได้ดังนี้
- ปุ๋ยแอมโมเนีย (NH ) หรือ anhydrous ammonia หรือ liquid ammonia
3
(แอมโมเนียมเหลว) มีไนโตรเจนทั้งหมด 82 เปอร์เซ็นต์ เป็นปุ๋ยที่มีปริมาณไนโตรเจนสูงที่สุด
- ปุ๋ยยูเรีย CO (NH ) เป็นเม็ดกลมสีขาว มีไนโตรเจนสูงรองจากปุ๋ยแอมโมเนีย คือ
2 2
มีไนโตรเจนทั้งหมด 46 เปอร์เซ็นต์ มีสมบัติดูดความชื้นได้ง่าย
- ปุ๋ยแอมโมเนียม (NH NO ) มีไนโตรเจนทั้งหมด 35 เปอร์เซ็นต์
3
4
- ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (NH ) SO มีไนโตรเจนทั้งหมด 21 เปอร์เซ็นต์
4 2
4
- ปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH Cl) มีไนโตรเจนทั้งหมด 24-26 เปอร์เซ็นต์
4
- ปุ๋ยโซเดียมไนเตรท (NaNO ) มีไนโตรเจนทั้งหมด 16 เปอร์เซ็นต์
3
- ปุ๋ยแคลเซียมไซยาไนด์ (CaCN ) มีไนโตรเจนทั้งหมด 21-22 เปอร์เซ็นต์ เป็นอันตราย
2
ต่อคนและสัตว์ เวลาใช้ต้องใช้อย่างระมัดระวัง อาจใช้เป็นยาฆ่าหญ้า และฉีดพ่นให้ใบฝ้ายร่วงก่อนการ
เก็บเกี่ยวได้ด้วย
- ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรท Ca(NO ) มีไนโตรเจนทั้งหมด 15.5 เปอร์เซ็นต์
3 2
- ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรทซัลเฟต (NH NO . (NH ) SO มีไนโตรเจนทั้งหมด 30
4 2
3
4
4
เปอร์เซ็นต์
- ปุ๋ยไนโตรเจนอื่น ๆ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต-ซัลเฟต ปุ๋ย
ยูเรีย-ซัลเฟอร์ ปุ๋ยยูเรีย-ฟอสเฟต เป็นต้น
3.2 ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic fertilizers) หมายถึง ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบเป็นสารอินทรีย์ซึ่ง
ได้มาจากสิ่งมีชีวิต เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ซากพืชหรือสัตว์ที่ไถกลบลงดิน รวมถึง
อินทรียวัตถุที่เป็นของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร เช่น กากตะกอนอ้อย (Filter cake)
และทะลายปาล์ม เป็นต้น ปุ๋ยอินทรีย์มีข้อดีคือ ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและปรับปรุงสมบัติ
ดิน ทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ได้จากวัสดุอินทรีย์ที่มีการย่อยสลายสมบูรณ์แล้ว
เปลี่ยนเป็นสารอินทรีย์ที่คงตัว เรียกว่า ฮิวมัส ซึ่งจะปลดปล่อยอนินทรีย์สาร เช่น ธาตุไนโตรเจน (N)
-
-
ในรูปของไนเตรท (NO ) ธาตุฟอสฟอรัส (P) ในรูปของฟอสเฟต (PO ) เป็นต้น ที่พืชสามารถดูดไป
4
3
ใช้ได้โดยตรง มีธาตุอาหารพืชแต่ละชนิดเป็นองค์ประกอบค่อนข้างต่ า และถูกปลดปล่อยออกมาอย่าง
ช้าๆ โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ จึงจ าเป็นต้องใช้ในปริมาณมากเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของ
พืชต้นทุนการผลิตสูงและการควบคุมอัตราส่วนของธาตุอาหารท าได้ยากดังนั้นการใช้ปุ๋ยให้มี
ประสิทธิภาพจึงควรมีข้อมูลประกอบการพิจารณาได้แก่ ข้อมูลดิน ข้อมูลพืชที่ปลูก เพื่อใช้ปุ๋ยให้
ถูกต้อง ให้เกิดความสมดุลของธาตุอาหารในการสร้างผลผลิตพืช ปุ๋ยอินทรีย์สามารถจ าแนกตาม
แหล่งที่มา และการใช้ประโยชน์ได้ 3 ชนิด (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2544)