Page 16 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 16
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
6
2.1 ธาตุอาหารที่จ าเป็นส าหรับพืช (plant essential elements) หลักในการพิจารณาธาตุอาหารที่
จ าเป็นส าหรับพืช มี 2 ประการ ได้แก่
ประการแรก ธาตุหนึ่งเป็นธาตุที่จ าเป็นต่อพืช เมื่อพืชไม่อาจด ารงชีพจนครบชีพจักรหาก
ปราศจากธาตุนั้นโดยสิ้นเชิง
ประการที่สอง ธาตุหนึ่งเป็นธาตุที่จ าเป็นต่อพืชเมื่อพิสูจน์ได้ว่าธาตุนั้นเป็น
องค์ประกอบส าคัญของสารที่จ าเป็นต่อการด ารงชีพของพืช และธาตุอาหารที่จ าเป็นส าหรับพืชชั้นสูง
ปัจจุบันธาตุอาหารพืช ที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมี 17 ธาตุ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
หลักดังนี้ (กรมพัฒนาที่ดิน และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2555)
2.1.1 ธาตุอาหารมหัพภาคหรือมหธาตุ (macro nutrient หรือ major elements)
หมายถึง ธาตุอาหารที่พืชต้องการปริมาณมาก ธาตุอาหารพืชกลุ่มนี้มีทั้งหมด 9 ธาตุ ได้แก่ ไนโตรเจน
(N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) ก ามะถัน (S) คาร์บอน (C)
ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) ทั้งนี้ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน พืชจะได้รับจากน้ าและ
อากาศ แล้วน าไปใช้ในการสร้างอาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้
1) ธาตุอาหารหลัก (primary element) หรือธาตุปุ๋ย (fertilizer
elements) ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม พืชจะต้องการธาตุเหล่านี้ในปริมาณมาก
แต่มักได้รับจากดินไม่เพียงพอ จึงต้องมีการใช้ปุ๋ยที่ประกอบด้วยธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นหลักอยู่เสมอ
2) ธาตุอาหารรอง (secondary nutrient elements) ได้แก่แคลเซียม
แมกนีเซียม ก ามะถัน ซึ่งพืชจะต้องการในปริมาณที่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก
2.1.2 ธาตุอาหารจุลภาค หรือจุลธาตุ หรือ ธาตุอาหารเสริม (micronutrients หรือ
trace elements หรือ minor elements) หมายถึง ธาตุอาหารที่พืชต้องการน้อย ธาตุอาหารพืช
กลุ่มนี้มีทั้งหมด 8 ธาตุ ได้แก่ เหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) โมลิบดินัม
(Mo) โบรอน (B) คลอรีน (Cl) และ นิกเกิล (Ni)
2.2 รูปของธาตุอาหารในดิน ประกอบด้วย ธาตุอาหารมหัพภาคและจุลภาคที่พืชได้รับจาก
ดินมี 14 ธาตุ (กรมพัฒนาที่ดิน และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2555)
ดังนี้คือ ธาตุอาหารมหัพภาคจ านวน 6 ธาตุได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม
แมกนีเซียม ก ามะถัน และธาตุอาหารจุลภาคหรือจุลธาตุ จ านวน 8 ธาตุ ได้แก่ เหล็ก ทองแดง
แมงกานีส สังกะสี โมลิบดินัม โบรอน คลอรีน และ นิเกิล ธาตุอาหารพืชที่เป็นประโยชน์และพืช
ดูดน าไปใช้ได้ง่ายมี 3 อย่าง คือ 1) ไอออนของธาตุอาหารซึ่งอยู่ในสารละลายดิน 2) ไอออนของธาตุ
อาหารที่แลกเปลี่ยนได้ (Exchangeable ion) ซึ่งถูกดูดซับอยู่กับผิวของแร่ดินเหนียวและฮิวมัสในดิน
และ 3) สารประกอบของดินที่สามารถละลายน้ าได้ง่าย และแตกตัวปลดปล่อยไอออน (ยงยุทธ และคณะ,
2556)