Page 15 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 15
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5
มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว หน้าดินอาจแตกระแหงเป็นร่องในฤดูแล้งและมีรอยถูไถลในดิน ดินบนมีสี
ด า ดินล่างมีสีเทาหรือน้ าตาลอ่อน มีจุดประสีเหลืองและสีน้ าตาล บางบริเวณอาจพบจุดประสีแดง
ปะปน หรือพบผลึกยิปซัม ดินชั้นล่างจะพบชั้นตะกอนทะเลสีเขียวมะกอกที่ความลึกประมาณ 1-1.5
เมตร โดยปกติดินกลุ่มนี้จะมีความอุดมสมบูรณ์ในระดับปานกลางถึงสูง ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่าง
ปานกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 7.0-8.0 ได้แก่ ชุดดินบางกอก (Bangkok series : Bk)
ชุดดินบางแพ (Bang Phae series: Bph) ชุดดินฉะเชิงเทรา (Chachoengsao series: Cc) ชุดดิน
สมุทรปราการ (Samut Prakan series: Sm)
1.3.2 ชุดดินบางกอก (Bangkok series: Bk) จัดอยู่ใน very fine, smectite,
isohypertermic Ustic Endoaquerts เกิดจากที่ราบน้ าทะเลเคยท่วมถึง เป็นดินที่เกิดจากตะกอน
ของน้ าทะเลและน้ ากร่อยที่มีอายุน้อยที่ถูกพัดมาทับถมทุกปี พบตามบริเวณพื้นที่ราบ ที่ราบลุ่มห่าง
จากชายฝั่ง มีความลาดชันประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ าเลว น้ าซึมผ่านได้ช้า การไหลบ่า
ของน้ าบนผิวดินช้า เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอด หน้าดินเป็นสีด ามักพบจุดประสีน้ าตาล ดินบนลึกไม่
เกิน 30 เซนติเมตร มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีพื้นเป็นสีเทาเข้มถึงเข้ม
มากของน้ าตาลปนเทา มีจุดประสีน้ าตาลแก่ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 6.0-7.0 ดินล่าง
เป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีพื้นเป็นสีเทาถึงสีเทาปนเขียวมะกอก มีจุดประสีน้ าตาล
ปนเหลือง หรือสีอ่อนของน้ าตาลปนเขียวมะกอก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ประมาณ
7.0-7.5 ดินชั้นนี้จะพบสารพวกแมงกานีสและเหล็กจับตัวกันเป็นก้อนสีด า ชุดดินนี้เหมาะสมส าหรับ
ปลูกข้าวในฤดูฝน หากอยู่ในเขตชลประทานหรือใกล้แหล่งน้ าธรรมชาติ สามารถปลูกพืชไร่และพืชผัก
บางชนิดได้ แต่ไม่เหมาะสมที่จะปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น เนื่องจากน้ าท่วมในฤดูฝนและหากมีการ
เปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินจากการท านามาเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ ไม้ผล หรือพืชผัก เพื่อให้พื้นที่
เหมาะสมกับพืชดังกล่าว จึงควรมีการขุดยกร่องและมีระบบป้องกันน้ าท่วม (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548ข)
2. ธาตุอาหารพืช
ธาตุอาหารพืช หมายถึง ธาตุที่มีความส าคัญต่อการด ารงชีวิตของพืช ถ้าหากขาดอย่างรุนแรงพืชจะ
ตายก่อนครบวงจรของชีวิต ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงต่อกระบวนการ เมทาบอลิซึมของพืช หากขาดแคลนระดับหนึ่ง
พืชจะแสดงอาการผิดปกติ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยให้ธาตุนั้นในรูปปุ๋ย (ยงยุทธ, 2552)