Page 53 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการลดการเผาพื้นที่โล่งเตียนเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน บ้านดอน หมู่ที่ 5 ตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
P. 53

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       37








                       สมการเพื่อใช้ประเมินค่า R  factor  ขึ้นมาหลายสมการ มีทั้งจากค่า EI30และ KE>1 ค่า EI30 เป็น
                       ค่าที่เหมาะสมกับปริมาณฝนของประเทศไทย คือ

                                                               R = 0.4669 X – 12.1415 (r = 0.9482)
                                                               เมื่อ R  = ค่าปัจจัยการกัดกร่อนของฝน (ตันต่อเฮกแตร์ต่อปี)

                                                                    X  =  ปริมาณฝนเฉลี่ยรายปี (มิลลิเมตรต่อปี)


                                                      K factor  ค่าปัจจัยความคงทนของดิน คือ ปัจจัยความคงทนต่อการกร่อนของ

                       ดิน เป็นค่าตัวเลข ค่าน้อยที่สุดตั้งแต่ 0.04 ส าหรับดินที่ยากต่อการกร่อน จนถึง 0.6 ส าหรับดินที่ง่าย
                       ต่อการกร่อนที่สุด ค่า K  ได้จากการศึกษาในแปลงทดลองมาตรฐาน ค านวณปริมาณดินแล้วหารด้วย

                       ค่า R ของฝนที่ตกแต่ละครั้ง

                                                      C  factor   ค่าปัจจัยของการจัดการพืช  C  factor  ของวิธีการปลูกพืชหนึ่ง ๆ

                       เป็นค่าที่แสดงความหมายถึง สัดส่วนของการสูญเสียดินระหว่างวิธีการจัดการปลูกพืชนั้น กับแปลง

                       ทดลองมาตรฐาน ในสภาพแวดล้อม และชนิดของดินเหมือนกับที่ใช้หาค่า K factor เป็นค่าตัวเลขไม่มี
                       หน่วย ค่าน้อยที่สุดตั้งแต่ 0.001 ส าหรับป่าไม้ธรรมชาติที่ปกคลุมเต็มพื้นที่จนถึง 1 ส าหรับแปลง

                       ทดลองมาตรฐานซึ่งไม่มีสิ่งปกคลุมดิน วิธการปลูกพืชทุกชนิด มีค่า C factor น้อยกว่า  1

                                                      P  factor    ค่าปัจจัยของมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า P  factor  เป็นค่าแสดง

                       สัดส่วนของการสูญเสียดินระหว่างมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าหนึ่ง ๆ กับแปลงทดลองมาตรฐานที่มี

                       การไถพรวนขึ้น ลง ตามความลาดเอียง และปล่อยว่างไม่มีพืชปกคลุม เป็นค่าตัวเลขไม่มีหน่วยค่าน้อย
                       ที่สุดตั้งแต่ 0.1 ส าหรับขั้นบันไดดิน  (terracing)  จนถึง 1 สาหรับแปลงทดลองมาตรฐาน มาตรการ

                       อนุรักษ์ดินและน้ าทุกประเภท มีค่า P factor น้อยกว่า  1 และเปลี่ยนแปลงตามความลาดเอียงของ
                       พื้นที่ถ้าใช้หลายมาตรการผสมผสานร่วมกัน การประเมินให้น าค่า P ของแต่ละมาตรการมาคูณกัน


                                                      L factor  ค่าปัจจัยความยาวของความลาดเอียง (slope length) เป็นค่าตัวเลข
                       ไม่มีหน่วย อาจมีค่าน้อยกว่า 1 หรือมากกว่า 1 ได้ค่านี้เป็นสัดส่วนการสูญเสียดิน ของความยาวความ

                       ลาดเอียงหนึ่ง เปรียบเทียบกับของแปลงทดลองมาตรฐานใน สภาพแวดล้อมอื่น และชนิดของดินที่

                       เหมือนกัน ส าหรับแปลงทดลองมาตรฐานความยาวของความลาดเอียง 22.13 เมตร ลาดเอียง 9
                       เปอร์เซ็นต์  L factor มีค่าเท่ากับ  1


                                                      S factor  ค่าปัจจัยความลาดเอียง (slope steepness factor) เป็นค่าตัวเลขไม่
                       มีหน่วยอาจมีค่าน้อยกว่า 1 หรือมากกว่า 1 ได้ ค่านี้เป็นสัดส่วนการสูญเสียดินของความลาดเอียงหนึ่ง

                       เปรียบเทียบกับของแปลงทดลองมาตรฐาน ในสภาพแวดล้อมอื่น และชนิดของดินที่เหมือนกันส าหรับ
                       แปลงทดลองมาตรฐาน ที่มีความลาดชัน 9 เปอร์เซ็นต์  S factor มีค่าเท่ากับ 1 (ประทุมพร, 2557)
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58