Page 49 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการลดการเผาพื้นที่โล่งเตียนเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน บ้านดอน หมู่ที่ 5 ตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
P. 49

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       33








                       โดยธรรมชาติ การกร่อนดินที่มีตัวเร่ง การกร่อนดินโดยธรรมชาติ (natural erosion) หมายถึง การ
                       กัดกร่อนซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยมีน้ าและลมเป็นตัวการ เช่น การชะละลาย แผ่นดินเลื่อน การ

                       กร่อนดินโดยลมตามชายทะเลหรือในทะเลทราย การกร่อนแบบนี้ป้องกันไม่ได้ เกิดขึ้นตลอดเวลาค่อย
                       เป็นค่อยไปเกิดขึ้นช้ามาก  การกร่อนดินที่มีตัวเร่ง (accelerated or man-made erotion) หมายถึง

                       การกร่อนดินที่มนุษย์ หรือสัตว์เลี้ยงเข้ามาช่วยเร่งให้เร็วขึ้นกว่าการกร่อนดินโดยธรรมชาติ ซึ่งเกิดเป็น

                       ประจ าอยู่แล้ว  เช่น  การตัดไม้ท าลายป่า  หักล้างถางพง  ท าการเกษตรอย่างขาดหลักวิชา  ท าให้ดิน
                       ปราศจากสิ่งปกคลุม  ท าให้การกัดกร่อนดินโดยลมและฝนพัดพาดินไปได้มากขึ้น  แต่จะมากจะน้อย

                       ขึ้นอยู่กับวิธีการที่ใช้ท าการเกษตร (มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา ล าปาง, 2557)


                                         การชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย จะมี 4 ลักษณะ ดังนี้


                                     1)  การชะล้างพังทลายที่พื้นผิวดิน (sheet  erosion)  เกิดบนพื้นที่ลาดเทเล็กน้อย
                       และมีความลาดเทของพื้นที่ค่อนข้างสม่ าเสมอ เมื่อผิวของพื้นที่ดินถูกปะทะโดยเม็ดฝน และเมื่อน้ า

                       ไหลบ่าจะเกิดการพังทลายของดินลักษณะนี้ จะสังเกตไม่ค่อยเห็นแต่เมื่อเกิดนานๆ เข้าก็จะสังเกตเห็น
                       ได้จากการที่มีหินและรากพืชโผล่บนพื้นผิวดินหรือระดับผิวดินที่เสารั้วต่ าลงมา  การชะล้างพังทลาย

                       แบบนี้ลึก 1  เซนติเมตร จะสูญเสียดินประมาณ 24  ตันต่อไร่ ( ดิน  1  ไร่ ลึก 15  เซนติเมตร หนัก

                       ประมาณ 360 ตัน )
                                     2) การชะล้างพังทลายแบบริ้ว (rill erosion) เป็นการพังทลายของดินที่เกิดเป็นร่อง

                       ริ้วเล็กๆ กระจายไปทั่วพื้นที่ความลึกไม่เกิน 8 เซนติเมตร ท าให้ผิวดินขรุขระ แต่เมื่อมีการไถพรวนร่อง
                       ริ้วบริเวณนี้ก็จะหายไป มักเกิดในพื้นที่ที่มีความลาดเทน้อย มีความลาดเทไม่สม่ าเสมอกันตลอดและ

                       ตามร่องที่ปลูกพืชตามแนวลาดเท

                                     3) การชะล้างพังทลายแบบเป็นแนวร่องขนาดใหญ่ (gully erosion) เกิดในพื้นที่ที่มี
                       ความลาดเทมากและมีระยะของความลาดเทยาว หรือพื้นที่ที่ปลูกพืชตามแนวขึ้นลงของความลาดเท

                       เริ่มแรกจะเกิดการกัดเซาะของร่องน้ าเป็นร่องขนาดเล็ก เมื่อไม่มีการแก้ไขก็จะกลายเป็นร่องน้ าขนาด

                       ใหญ่และลึก ในพื้นที่ที่เป็นดินทรายจะเกิดการชะล้างพังทลายในลักษณะนี้ได้เร็วมากเมื่อ เกิดฝนตก
                       หนัก

                                     4) การชะล้างพังทลายของดินริมฝั่งแม่น้ า (stream erosion) เกิดจากการกัดเซาะ

                       ของน้ าในแม่น้ าล าธารหรือแหล่งน้ าต่างๆ ท าให้ดินริมฝั่งแม่น้ าพังทลายและถูกพัดพาไป แต่ละปีจะ
                       เกิด    การพังทลายของดินในลักษณะนี้เป็นปริมาณมาก ดินที่ถูกพัดพาไปจะท าให้ล าน้ าและล าธาร

                       ตื้นเขิน ล าน้ าเกิดการเปลี่ยนทิศทางไหล ท าให้เกิดน้ าไหลบ่าท่วมชายฝั่ง เป็นต้น (อรทัย, 2543)
                               ปัจจัยที่ท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน มีทั้งปัจจัยจากกิจกรรม   การใช้ที่ดินของ

                       มนุษย์ และปัจจัยทางธรรมชาติได้แก่ สภาพอากาศ ปริมาณน้ าฝน ลักษณะภูมิประเทศ ความลาดชัน
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54