Page 58 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการลดการเผาพื้นที่โล่งเตียนเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน บ้านดอน หมู่ที่ 5 ตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
P. 58

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       42








                       11.2 ตันต่อไร่ต่อปี (กรมพัฒนาที่ดิน,  2552) แต่หากมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม เช่น
                       การปลูกพืชไร่ได้แก่ ข้าวโพดตามด้วยถั่วด าบนขั้นบันไดดิน มีปริมาณการสูญเสียดินน้อยมีค่าเฉลี่ย

                       เพียง 0.68 ตันต่อไร่ต่อปี และปริมาณน้ าไหลบ่ามีค่าเฉลี่ย 52.6 ลูกบาศก์เมตร (กิตติพร และคณะ,
                       2536)


                              จากการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าบนพื้นที่ลาดชันสูง ซึ่งได้ด าเนินการ
                       ตั้งแต่ปี  พ.ศ.  2544-2546  พบว่า มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า โดยการจัดท าขั้นบันไดไม้ผลแบบ

                       ระดับ (Orchard hill side terrace) การจัดท าคูรับน้ าขอบเขาแบบระดับ (Level hill side ditch)

                       การจัดท าคูรับน้ าขอบเขาแบบลดระดับ (graded  hill  side  ditch)  และการจัดท าแถบหญ้าแฝก
                       (Vetiver grass strip) สามารถลดการสูญเสียดินได้ 91 91 69 และ 58 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบ

                       กับวิธีการที่ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า (ปริมาณการสูญเสียดิน  220  237  778  และ 1,053
                       กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เปรียบเทียบกับ 2,502 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี) และผลผลิตของข้าวโพดที่ปลูกในพื้นที่

                       มีการจัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า ในวิธีการต่างๆ จะไม่แตกต่างกันทางสถิติ ถึงแม้ว่ามาตรการ

                       อนุรักษ์ดินและน้ าที่ท าการศึกษา จะท าให้มีการสูญเสียพื้นที่ เพื่อจัดท ามาตรการฯ 13  ถึง 17
                       เปอร์เซ็นต์ และจะมีผลผลิตข้าวโพดน้อยกว่าวิธีการที่ไม่มีการเสียพื้นที่ เพื่อการจัดท ามาตรการ

                       อนุรักษ์ดินและน้ า แต่จะมีผลผลิตน้อยกว่าเพียง 7  ถึง 11  เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น การจัดท ามาตรการ

                       อนุรักษ์ดินและน้ า จะมีผลดีต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน ต่อเนื่องต่อไปในระยะยาว การจัดท าระบบ
                       อนุรักษ์ดินและน้ า โดยเฉพาะมาตรการวิธีกล สามารถใช้พื้นที่ที่สูญเสียไปจากการท ามาตรการฯ

                       น ามาปลูกไม้ผลอยู่บนระบบอนุรักษ์ฯได้อีก และการเจริญเติบโตของไม้ผล (ต้นพลับ) ด้านต่างๆจะ
                       ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการที่ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า การปลูกพืชไร่หรือพืชเศรษฐกิจ

                       อื่นๆ ดังเช่น พืชผักและไม้ผลในพื้นที่ที่ได้จัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า การปลูกพืชที่มีอายุสั้น

                       และมีผลตอบแทนที่ดีและสามารถปลูกได้หลายครั้งต่อปี ประกอบกับการปลูกไม้ผลที่สามารถให้
                       ผลผลิตได้รวดเร็วในระยะสั้นและเป็นไม้ผลที่สามารถดูแลรักษาได้ง่าย มีความทนทานมาปลูกเสริมใน

                       ระบบอนุรักษ์ดินและน้ าจะท าให้มีผลตอบแทนต่อพื้นที่ที่ดีขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (อุทิศ,
                       2547)


                               ศรัญณุพงศ์ (2557) ได้ศึกษาประสิทธิภาพของแถบพืชเป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า เพื่อ
                       การปลูกข้าวโพดบนพื้นที่ดอนพื้นที่จังหวัดพะเยา พบว่า การปลูกน้อยหน่าร่วมกับเศษพืช มีปริมาณ

                       การสูญเสียดินต่ าสุดเท่ากับ 132 กิโลกรัมต่อไร่ โดยต่ ากว่าวิธีของเกษตรกร ซึ่งไม่มีระบบอนุรักษ์ดิน

                       และน้ า (390 กิโลกรัมต่อไร่) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ในด้านผลผลิตของข้าวโพด การปลูกน้อยหน่า
                       มะนาว กาแฟ และชา ร่วมกับเศษพืช เป็นแถบพืชอนุรักษ์ดิน ให้ผลผลิตข้าวโพดเฉลี่ยใกล้เคียงกัน คือ

                       1,017  945  884 และ 840 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ  และไม่แตกต่างกันทางสถิติกับวิธีเกษตรกรที่

                       ไม่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ า (841 กิโลกรัมต่อไร่)
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63