Page 48 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการลดการเผาพื้นที่โล่งเตียนเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน บ้านดอน หมู่ที่ 5 ตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
P. 48

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       32








                       ยืนต้นระหว่างคันดินเป็นพื้นที่เพาะปลูกไม้ยืนต้น   ซึ่งจะช่วยดูดซับกาซคาร์บอนไดออกไซด์  (กรม
                       พัฒนาที่ดิน ,2560)


                        3.6 การชะล้างพังทลายของดิน


                              พื้นที่ดินที่มีปัญหาการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมของประเทศไทยได้แก่การชะล้าง
                       พังทลายของดิน 108.87 ล้านไร่ พื้นที่ที่มีปัญหามากที่สุด คือ ภาคเหนือ ฯลฯการประเมินการสูญเสีย

                       ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่เกิดจากการชะล้างพังทลาย โดยใช้ปุ๋ยเพื่อทดแทนความอุดมสมบูรณ์ของ

                       ธาตุอาหารในดินที่สูญเสียไป (replacement cost) เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นที่ที่เกิดการสูญเสียดิน
                       ประมาณ 108.87 ล้านไร่ ในการศึกษานี้จะพิจารณาเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ เนื่องจากมีอัตราการ

                       ชะล้างพังทลายดินในระดับปานกลางถึงรุนแรงมาก หรือมีอัตราการสูญเสียดินประมาณ 2-50 ตันต่อ

                       ไร่ต่อปี ข้อมูลที่ใช้ในการค านวณมูลค่าการสูญเสียธาตุอาหาร คือ ข้อมูลอัตราการสูญเสียปุ๋ยในพื้นที่
                       เพาะปลูกพืชไร่ในแต่ละภาค ตามชนิดของปุ๋ย จากการส ารวจการพัดพาปุ๋ยของพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่

                       ในแต่ละภาคของ  ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่จากสถิติการเกษตรรายปีจาก ส านักงานเศรษฐกิจ
                       การเกษตร และข้อมูลราคาปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต และปุ๋ยโปแตสเซี่ยมคลอไรด์ เมื่อค านวณ

                       ต้นทุนการสูญเสียธาตุอาหารจากการพังทลายของดินมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5,015 ล้านบาทต่อปี

                       (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2557)
                                        สภาพความลาดเทของพื้นที่ ความลาดเทจะมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนย้ายและการกักเก็บน้ า

                       การเคลื่อนย้ายของวัสดุดิน อัตราเร่งและปริมาณการไหลบ่าของน้ า และในการท าการเกษตร บนพื้นที่
                       สูงนั้นจะมีความเสี่ยง ต่อการเกิดการชะล้างพังทลายของดินได้สูงกว่า ในบริเวณพื้นที่ราบเนื่องจาก

                       การท าการเกษตรบนพื้นที่สูงจะมีการเปิดพื้นที่ เกษตรกรจะท าการเผาเศษพืชเพื่อเตรียมดินส าหรับ

                       การเพาะปลูก และจะสามารถเพาะปลูกพืชได้ในช่วงฤดูฝนเพียงฤดูกาลเดียว เมื่อเกิดฝนตก ปริมาณ
                       และจ านวนเม็ดฝนที่ตกจะกระทบกับผิวหน้าดินโดยตรง ท าให้เม็ดดินแตกกระจาย และถูกน้ าที่ไหลบ่า

                       หน้าดินชะล้าง และพัดพาออกไปจากพื้นที่ได้ ประกอบกับลักษณะของพื้นที่ที่มีความลาดเทสูง เมื่อมี

                       ฝนตกชุกและเกิดน้ าไหลบ่าหน้าดินก็ง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลายของดินได้สูงกว่าในบริเวณ พื้นที่
                       ราบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความลาดเทจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งของข้อจ ากัดในการท าการเกษตรบนพื้นที่

                       สูง และหากมีการท าการเกษตรบนพื้นที่สูงก็ควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสมกับสภาพ

                       พื้นที่และ ระบบการเพาะปลูกพืช เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน   ลดปริมาณการสูญเสียดิน
                       และช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2539)

                                         การชะล้างพังทลายของดิน  การกัดกร่อนดิน  (soil  erosion) หมายถึง กระบวนการแตก
                       กระจาย (detachment) และการพัดพาไป (transportation) ของดินโดยตัวการกัดกร่อน (erosion

                       agents) ซึ่งได้แก่ น้ าและลมเป็นส าคัญ มักแบ่งการกร่อนดินออกเป็น 2 ประเภท คือ การกร่อนดิน
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53