Page 54 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการลดการเผาพื้นที่โล่งเตียนเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน บ้านดอน หมู่ที่ 5 ตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       38








                                การสูญเสียดินจะช่วยส่งผลกระทบเสียหายรุนแรงหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของดินใน
                       แต่ละพื้นที่ หากกระบวนการเกิดดินเป็นไปอย่างรวดเร็วและดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติสูง

                       แม้จะมีอัตราการสูญเสียดินสูงก็อาจไม่มีผลกระทบต่อการใช้ที่ดิน ตรงกันข้ามถ้าดินมีความอุดม
                       สมบูรณ์ต่ าและกระบวนการเกิดดินเป็นไปอย่างช้าๆ แม้การสูญเสียดินเล็กน้อยก็อาจส่งผลกระทบ

                       เสียหายรุนแรงต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้น ค่าการสูญเสียดินเมื่อน ามาเปรียบเทียบกับลักษณะตาม

                       ธรรมชาติของดินย่อมสามารถวิเคราะห์ความเสียหายจากการชะล้างพังทลายของดินได้

                                กรมพัฒนาที่ดิน (2545) ได้มีการก าหนดจากข้อพิจารณาทั้งหมดข้างต้น สามารถก าหนด

                       ปริมาณการสูญเสียดินสูงสุดที่ยอมรับได้ส าหรับดินในประเทศไทยเป็น 2 ตันต่อไร่ต่อปี หรือเทียบเท่า
                       กับ 0.96  มิลลิเมตรต่อปี การสูญเสียในระดับนี้จะไม่ท าให้สมรรถนะของดินส าหรับการเกษตร

                       เปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 25 ปี ค่าการสูญเสียดินที่สูงกว่าระดับนี้จะมีผลเสียหายต่อคุณภาพดิน
                       และผลผลิตพืชในระยะยาว ส าหรับการจัดชั้นความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินในประเทศ

                       ไทยจัดแบ่งไว้ 5 ระดับ โดยมีรายละเอียดของแต่ละชั้นความรุนแรง ดังนี้

                       ตารางที่ 6 การจัดชั้นรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย


                        ชั้นความรุนแรงของการชะล้างพังทลาย               อัตราการสูญเสียดิน

                                                                 ตัน/ไร่/ปี         มิลลิเมตร/ปี
                            ชั้น 1: น้อยมาก                       0 - 2              0 – 0.96

                            ชั้น 2: น้อย                          2 – 5             0.96 – 2.4

                            ชั้น 3: ปานกลาง                      5 – 15              2.-4 7.2
                            ชั้น 4: รุนแรง                       15 – 20             7.2 – 9.6

                            ชั้น 5: รุนแรงมาก                   มากกว่า 20          มากกว่า 9.6

                                              น้้าไหลบ่าบนผิวดิน (surface runoff) หมายถึง ปริมาณน้ าทั้งหมดที่ไหลจากผิวพื้นดิน

                       ลงสู่ร่องน้ า ล าห้วย หรือล าคลอง น้ าไหลบ่าบนผิวดินก็คือ น้ าฝนที่ตกลงมาบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งแล้ว

                       ถูกซึมซับลงในดินพืชดูดไปใช้ถูกเก็บกักไว้ในพื้นที่หรือระเหยไปในอากาศ น้ าที่เหลือจากขบวนการ
                       ต่างๆแล้วไหลลงสู่ร่องน้ า ล าห้วย หรือล าคลอง ก็คือน้ าไหลบ่า อัตราและปริมาณของน้ าไหลบ่าจะมี

                       มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน เช่น ความรุนแรง ปริมาณ และทิศทางของฝนที่ตกมา

                       ลักษณะความลาดเทและการเก็บกักน้ าบนพื้นผิวของพื้นที่ ฯลฯ หลักการส าคัญของการอนุรักษ์ดิน
                       และน้ าในไร่นา ก็คือ การเก็บกักน้ าไหลบ่าบนผิวดินไว้ในที่ต้องการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใน

                       ขณะเดียวกันต้องระบายน้ าที่มากเกินความต้องการไปทิ้งในที่ควบคุมได้โดยไม่ให้เกิดความเสียหายกับ
                       พื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกัดเซาะพังทลายของหน้าดิน
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59