Page 45 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการลดการเผาพื้นที่โล่งเตียนเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน บ้านดอน หมู่ที่ 5 ตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       29








                       ส่วนการเตรียมดิน ในพื้นที่ความลาดชันไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ใช้รถแทรคเตอร์ล้อยาง-รถไถเดินตาม
                       ไถเตรียมดิน โดยไถแบบขึ้นลงตามความลาดชัน จากนั้นปลูกข้าวโพดในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

                       เก็บเกี่ยวเดือนกันยายน บางพื้นที่ปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชครั้งที่ 2 บางพื้นที่ถ้าฝนดีปลูกข้าวโพดอีก
                       หนึ่งครั้ง

                                  การไถพรวน โดยปกติเป็นการเพิ่มการชะล้าง พังทลายของดิน โดยถ้าท้าให้ถูกวิธีที่เหมาะสม

                       จะช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน วิธีการปลูกพืชมีอิทธิพล  ต่อการชะล้างพังทลายของดินขึ้นอยู่
                       กับชนิดของพืชที่ปลูก จ้านวนพืชต่อเนื้อที่ ระยะระหว่างต้นและระหว่าง แถว และทิศทางของแถวกับ

                       ความลาดเท ซึ่งถ้ามีพืชหนาแน่นและปลูกตามแนวระดับหรือขั้นบันไดจะลดการ ชะล้างพังทลายของ
                       ดินเป็นอย่างมาก (ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 7, 2561) แม้ว่าการไถพรวนดินจะก่อให้เกิดผลดีแก่การ

                       ปลูกพืช แต่มีผลเสียต่อระบบการเกษตรโดยเฉพาะท าให้สมบัติดินทั้งทางกายภาพและเคมีของดิน

                       เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนั้นเพิ่มอัตราการชะล้างพังทลายของดิน โดย เฉพาะในพื้นที่ที่มีความลาดเท
                       แล้วมีการไถพรวนขึ้นลง  ตามความลาดเท จะท าให้เกิดการกัดกร่อนของดินอันเกิดจากน้ าไหลบ่าใน

                       ยามฝนตกหนัก ส าหรบในฤดูแล้งผิวดินจะถูกกัดกร่อนด้วยแรงลม (ส านักนิเทศและถ่ายทอด

                       เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน, 2550)
                                  การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน มี 2 ลักษณะ ได้แก่ การปลูกข้าวโพดในพื้นที่ราบ

                       และการปลูก  ข้าวโพดบนพื้นที่ลาดชัน  โดยข้าวโพดในพื้นที่ราบ  สามารถปลูกได้ปีละ  1 - 2  ครั้ง
                       เนื่องจากสามารถเข้าถึงแหล่งน้ าได้ง่ายจึงสามารถปลูกได้เกือบตลอดทั้งปี  ส่วนการปลูกข้าวโพดบน

                       พื้นที่ลาดชัน จะปลูกในพื้นที่ลาดชันหรือพื้นที่สูง อาศัยเพียงน้ าฝนเท่านั้น จึง สามารถปลูกได้ปีละ 1

                       ครั้ง  ซึ่งการเตรียมพื้นที่ส าหรับเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ใช้วิธีถางและเผา(slash  and  burn)  จึง
                       เป็นสาเหตุท าให้เกิดหมอกควันและฝุ่นในอากาศเกิดเป็นปัญหาคุณภาพอากาศ และในช่วง สู่ฤดูฝนมัก

                       พบปัญหาคุณภาพน้ า  เนื่องจากเมื่อมีฝนตกลงมาจะเกิดการชะล้างหน้าดินลงสู่แม่น้ าสายหลัก  และ
                       แม่น้ าสาขา  โดยน าพาสารเคมีหรือปุ๋ยเคมีที่ตกค้างในดินลงสู่แหล่งน้ า  (กุลโรจน์  และคณะ,  2559)


                       3.5 การเผาเศษพืช


                                ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ พืช

                       เศรษฐกิจที่ส าคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันส าปะหลัง เป็นต้น ในการท าการเกษตรให้ได้ผลผลิต

                       สูง  สิ่งส าคัญที่สุดคือการเตรียมดินที่จะท าการ  เพาะปลูก  ซึ่งจะต้องมีการถากถางพื้นที่เพื่อก าจัดเศษ
                       วัชพืช วิธีการที่ง่าย สะดวกและ ประหยัด ส าหรับเกษตรกรที่นิยมใช้กันมาก คือการเผา เช่น การเผา

                       ฟางข้าว  แม้ว่าในปัจจุบันการน าเครื่องจักรมาใช้ในระบบการผลิตข้าว  ได้แก่  การเตรียมดินด้วยรถไถ
                       แทน แรงงานสัตว์ การเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักร โดยเฉพาะข้าวนาปรังที่มีการปลูกข้าว ติดต่อกันอย่าง

                       น้อยปีละ 2-3 ครั้ง ต้องใช้ความเร่งรีบในการเตรียมดิน ไม่สามารถรอเวลา ในการหมักฟางในนาให้นิ่ม
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50