Page 46 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการลดการเผาพื้นที่โล่งเตียนเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน บ้านดอน หมู่ที่ 5 ตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       30








                       ย่อยสลายก่อนไถกลบ ปัญหาที่เกิดจากรถไถนาไม่สามารถ ตัดบดฟางข้าวและไถกลบในนาได้ง่าย ท า
                       ให้เกษตรกรหันมาใช้วิธีการเผาฟางในนาให้  หมดไปหรือเบาบางลงก่อนที่จะใช้รถไถนาไถกลบเตรียม

                       ดินปลูกข้าวฤดูต่อไป นอกจากนี้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตภาคการเกษตรบางชนิด เช่น อ้อย เกษตรกร
                       ต้องท าการ  เผาใบอ้อยให้มีปริมาณน้อยลงเพื่อให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวอีกด้วย  ส าหรับการก าจัดเศษ

                       พืชประเภทอื่น  เกษตรกรมักจะใช้ในการเผาเช่นเดียวกัน  (ส านักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่  13,  2561)

                                    การเผาเศษพืช เป็นปัญหาที่คนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยต้อง
                       ประสบทุกปี โดยเฉพาะในช่วง ฤดูร้อนเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และไม่ว่าสาเหตุของการเผาจะเกิด

                       จาก ไฟป่า (ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ) การเผาพื้นที่รกร้าง การหาของป่า การก าจัดเศษพืช ฟางข้าว
                       และเศษข้าวโพดของเกษตรกร ล้วนก่อให้เกิดเศษฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นพิษ (พีเอ็ม10) แขวนลอย

                       สะสมในอากาศ ไม่ยอมตกลงสู่พื้นเพราะมีขนาดเล็กมาก ประกอบกับในช่วงนี้ มีลมสงบ และยังมี

                       ความเย็นจากความกดอากาศ ฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้จึงไม่ลอยปลิวไปที่อื่น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
                       ของประชาชน ที่อาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ช่วงระยะเวลาในการเผาของแต่

                       ละพืช ในภาคเหนือท าการปลูกข้าวนาสวนในที่ราบระหว่างภูเขากันเป็นส่วนใหญ่ และท าการปลูกข้าว

                       ไร่ในที่ดอน และที่สูงบนภูเขา เพราะไม่มีน้ าขังในพื้นที่ปลูก ส่วนมากชนิดของข้าวที่ปลูกเป็นทั้งข้าว
                       เหนียว และ ข้าวเจ้า และในบางท้องที่มีการปลูกข้าวนาปรังด้วย ภาคเหนือมีความอุดมสมบูรณ์ของ

                       ดินนาดีกว่าภาคอื่นๆ ข้าวนาปีท าการเก็บเกี่ยวในระหว่างเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม ช่วง
                       ระยะเวลาที่เกษตรกรนิยมเผาฟางข้าวจะเริ่มหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวประมาณปลายเดือนมกราคม

                       เป็นต้นไป และการไถพรวนดินจะท าในเดือนเมษายน แหล่งปลูกข้าวโพดที่ส าคัญอยู่ในภาคเหนือ ซึ่งมี

                       พื้นที่ปลูกถึงกว่าครึ่งของทั้งประเทศส่วนที่เหลือกระจายปลูกในทุกภาคของประเทศ ข้าวโพดเป็นพืชที่
                       สามารถปลูกได้ตลอดปี ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องน้ า แต่โดยทั่วไปเกษตรกรไทยปลูกข้าวโพด โดยอาศัยน้ าฝน

                       เป็นหลัก ดังนั้นฤดูปลูกโดยทั่วไปในประเทศไทย มี 2 ฤดูคือ ปลูกต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝน ขึ้นอยู่
                       กับการตกและการกระจายของฝนในท้องถิ่น เกษตรกรนิยมปลูกข้าวโพดต้นฤดูฝน เริ่มประมาณเดือน

                       เมษายน-พฤษภาคม เนื่องจากไดผลผลิตสูงกว่า ไม่มีโรคราน้ าค้างระบาดท าความเสียหาย รวมทั้ง

                       ปัญหาวัชพืชรบกวนน้อยกวาปลูกปลายฤดูฝน แต่จะมีปัญหาจากสารพิษอะฟลาท๊อกซิน ซึ่งจะมีการ
                       เผาเศษวัสดุในช่วงเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก (สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่

                       สูง,  2559)


                                   การเผาเศษพืชในการเกษตร จาก ผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศของ กรมควบคุม

                       มลพิษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา พบว่า มีปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศในปริมาณสูงในช่วงฤดู

                       แล้ง ในพื้นที่จังหวัดที่มีการท าการเกษตรมาก เช่น ปทุมธานี อยุธยา อ่างทอง ราชบุรี สระบุรี
                       กาญจนบุรี นครสวรรค์ เชียงใหม่ และขอนแก่น สาเหตุเกิดเป็นช่วงเวลาที่เกษตรกรจะท าการเผาเศษ
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51