Page 44 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการลดการเผาพื้นที่โล่งเตียนเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน บ้านดอน หมู่ที่ 5 ตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
P. 44
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
28
ประโยชน์ที่ดินในเชิงอนุรักษ์หรือวนเกษตร ในบริเวณพื้นที่ที่เป็นดินลึกและสามารถพัฒนาแหล่งน้ าได้
มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ า เช่น ปลูกพืชคลุมดิน ท าแนวรั้วหญ้าแฝกและขุดหลุมปลูกเฉพาะต้น โดยไม่
มีการท าลายไม้พื้นล่าง ส าหรับในพื้นที่ที่ไม่มีศักยภาพทางการเกษตร ควรรักษาไว้ให้เป็นสวนป่า สร้าง
สวนป่าหรือใช้ปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548)
กลุ่มชุดดินที่ 47D กลุ่มดินตื้นถึงชั้นหินพื้นปฏิกิริยาดินเป็นกรดถึงเป็นกลาง มีการระบาย
น้ าดี ความอุดมสมบูรณ์ต่ าดินตื้นถึงชั้นหินพื้น ความอุดมสมบูรณ์ต่ า ขาดแคลนน้ าและเกิดการชะล้าง
พังทลายสูญเสียหน้าดินในพื้นที่ลาดชัน บางพื้นที่มีเศษหินหรือหินพื้นที่โผล่บริเวณหน้าดินพื้นที่ที่เป็น
ดินตื้นมาก มีเศษหินหรือหินพื้นโผล่มาก ไม่เหมาะสมส าหรับการท าการเกษตร ควรปล่อยไว้ให้เป็นป่า
หรือปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว ปลูกพืชไร่หรือพืชผัก เลือกพื้นที่ที่มีหน้าดินหนา จัดระบบการปลูกพืช
หมุนเวียน ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 3 - 4 ตันต่อไร่ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านเมล็ดถั่ว
พร้า 10-12 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม 8-10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปอเทือง 6-8 กิโลกรัมต่อไร่ ไถกลบ
ระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ า ไถพรวนและปลูกพืชตามแนว
ระดับ มีวัสดุคลุมดิน หรือปลูกพืชสลับเป็นแถบ พัฒนาแหล่งน้ าและจัดระบบการให้น้ าในแปลงปลูก
ปลูกไม้ผล ขุดหลุมปลูกถึงชั้นหินพื้นหรือขุดหลุมขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยหน้าดิน
ที่ไม่มีเศษหินหรือก้อนหินร่วมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 25-50 กิโลกรัมต่อหลุม ควรมีไม้ค้ ายันและเอา
หน้าดินบริเวณใกล้เคียงมาผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกพูนโคนอยู่เป็นประจ า มีระบบอนุรักษ์ดินและ
น้ า เช่น ปลูกพืชคลุมดิน มีวัสดุคลุมดิน ปลูกพืชแซม ท าแนวรั้วหรือท าฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น ใช้ปุ๋ย
หมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ า ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ าและจัดระบบ
การให้น้ าในแปลงปลูก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548)
3.4 ระบบปลูกพืชบนพื้นที่ดอนในภาคเหนือ
พื้นที่ภาคเหนือตอนบน ส่วนใหญ่เป็นสภาพที่ดอนเขตอาศัย น้ าฝน เกษตรกรในเขตนี้มี
มากกว่าเขตชลประทานฯลฯ เกษตรกรนิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ท าให้
เกษตรกรมักประสบปัญหารายได้ต่ า ขาดความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรม ชุมชนขาดความเข้มแข็ง มี
คุณภาพชีวิต ไม่ดีและก่อให้เกิดมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมมากมาย โดยเฉพาะขาดการเอาใจใส่ด้าน
อนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่ ลาดชันและพื้นที่สูง (สมชาย, 2559)
ระบบการปลูกข้าวโพดในพื้นที่ดอนภาคเหนือปัจจุบันใช้ข้าวโพดลูกผสม เช่น ซีพี ไพโอ
เนียร์ ฯลฯ โดยปลูกในพื้นที่โล่งเตียนซึ่งอาจใช้ปลูกพืชอื่นมาก่อนแล้ว เช่น ข้าวไร่ ฯลฯ การเตรียม
พื้นที่มีขั้นตอนคือ ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ตัดฟันวัชพืช เศษพืชทิ้งไว้ให้แห้ง เดือนมีนาคม-
เมษายน เผาเศษพืชที่เตรียมไว้ เดือนพฤษภาคมฝนเริ่มมา ปลูกข้าวโพด ถ้ามีฝนมาก่อนในเดือน
เมษายน จะมีวัชพืชขึ้นก่อนปลูกข้าวโพดจะใช้สารเคมีก าจัดวัชพืชก่อนปลูก เช่น สารไกรโพเซท ฯลฯ