Page 41 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการลดการเผาพื้นที่โล่งเตียนเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน บ้านดอน หมู่ที่ 5 ตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
P. 41

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       25








                       ทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการปรับปรุงบ ารุงดินให้กับเกษตรกร โดยเกษตรกรมีส่วนร่วมในการดูแล
                       รักษา  จัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ าตามแบบที่ออกไว้ โดยเป็นการจ้างแรงงานในพื้นที่ด าเนินการ

                       เผยแพร่ความรู้จัดดูงานในพื้นที่เพื่อเป็นการรณรงค์ให้เกษตรกรได้รับรู้ถึงวิธีการในการใช้ประโยชน์
                       ที่ดินอย่างยั่งยืน  ด าเนินการในจังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน

                       พะเยา ล าปาง ล าพูน และ แพร่ คาดว่าผลที่ได้รับ  คือ  ช่วยดูดซับกาซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจาก

                       การศึกษาพบว่าไม้เนื้อแข็งตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงอายุ 10 ปี ในพื้นที่ 1 ไร่ (เฉลี่ย 400 ต้น) สามารถกัก
                       เก็บคาร์บอนไว้ในดินได้ประมาณ 8.6  ตันคาร์บอน ซึ่งหาก  ปลูกไม้โตเร็วเป็นจ านวนมากจะช่วย

                       สามารถเก็บคาร์บอนไว้ในดินได้ในปริมาณมากขึ้นตามล าดับ  ลดภาวะมลพิษทางอากาศ เนื่องจากมี
                       การเปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินจากพืชไร่เป็นไม้ยืนต้น ท าให้ลดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมใน

                       พื้นที่โล่งได้  การจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า จะช่วยชะลอความเร็วของน้ าให้สามารถเก็บกักน้ า

                       ต้นทุนไว้ให้ได้มากที่สุด และช่วยลดการสูญเสียหน้าดินที่เป็นประโยชน์ต่อการเกษตรกรรมได้อีกด้วย
                       เป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร สามารถลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน การท าอาชีพผิด

                       กฎหมาย เนื่องจากเกษตรกรมีรายได้อย่างต่อเนื่อง การจ้างแรงงาน มีอัตราการจ้างแรงงานในท้องถิ่น

                       และใช้วัสดุอุปกรณ์ภายในประเทศ 100 เปอร์เซ็นต์  เพื่อส่งเสริมและ  กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
                       (กรมพัฒนาที่ดิน, 2560)


                       3.2 สภาพภูมิประเทศภาคเหนือ



                               สภาพภูมิประเทศแบ่งภาคเหนือออกเป็น 2 เขตย่อย คือ ภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือ

                       ตอนล่าง ภาคเหนือตอนล่างประกอบด้วยที่ราบน้ าท่วมถึงและที่ราบแบบขั้นบันได ซึ่งประกอบกันเข้า
                       เป็นดินดอนสามเหลี่ยมตอนบนของแม่น้ าเจ้าพระยา มี 10 จังหวัด คือ ก าแพงเพชร ตาก นครสวรรค์

                       พิจิตร  เพชรบูรณ์  พิษณุโลก  เลย  สุโขทัย  อุทัยธานี  อุตรดิตถ์  ภาคเหนือตอนบนประกอบด้วยที่ราบ
                       แบบขั้นบันไดชั้นสูง ที่ราบสูงขั้นต่ า เนินเขา และภูเขา ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน

                       พะเยา  แพร่  แม่ฮ่องสอน  ล าปาง  และล าพูน  ลักษณะพื้นที่แบ่งออกเป็น  ที่ลุ่ม  ที่ดอน  และที่สูง

                               ที่ดอน เป็นพื้นที่ที่เกิดจากการทับถมโดยแม่น้ าเป็นเวลานาน เป็นลักษณะลานตะพัก มี
                       ความสูงจากระดับน้ าทะเลประมาณ 500 เมตร ฯลฯ สภาพพื้นที่เป็นลอนลาดถึงเป็นเนินเขา ทั้งนี้

                       รวมถึงพื้นที่ที่เหลือค้างจากการชะล้างพังทลายของดินด้วย (โครงการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตร
                       ภาคเหนือ, 2530ก)

                               พื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน  (rolling)  หรือมีความลาดชันปานกลาง  (moderately  sloping)  มี

                       ความลาดชัน 8-16 เปอร์เซ็นต์ สภาพพื้นที่เช่นนี้เหมาะในการปลูกพืชทุกประเภท ยกเว้นข้าว แต่ต้อง
                       มีการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม  เช่น  มีการท าคันดินเพื่อชะลอความเร็วของน้ าหรือมีการท า

                       ขั้นบันได  (terracing)  และปลูกพืชตามแนวระดับ  ถ้าจะใช้ปลูกไม้ยืนต้น  จ าเป็นต้องปลูกพืชคลุมดิน
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46