Page 32 - การไถกลบต่อซังร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       20







                       2.5  การวิเคราะห์สภาพพื้นที่
                              สภาพปัญหาทรัพยากรดิน
                              จากข้อมูลทรัพยากรดินที่ส ารวจพบในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาสามารถสรุปปัญหา
                       เกี่ยวกับทรัพยากรดิน พร้อมทั้งแนวทางในการจัดการดินเพื่อแก้ไขปัญหา ดังนี้

                              1.  พื้นที่ดินเป็นดินเปรี้ยว เนื่องจากธาตุอาหารที่จ าเป็นแก่พืช เช่น ฟอสฟอรัสถูกตรึงจนไม่
                       สามารถละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ และสารบางอย่างในดินจะถูกละลายออกมามากเกินไป
                       เช่น อลูมินั่ม จนเกิดเป็นสารพิษ  อีกทั้งจุลินทรีย์ประเภทที่เป็นประโยชน์ต่อพืชบางชนิดไม่สามารถ
                       ท างานหรือมีชีวิตอยู่ได้

                              2. ปัญหาดินเสื่อมโทรม เนื่องจากการใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง ขาดการบ ารุงและปรับปรุงดิน
                       เกษตกรใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นทุกปี ท าให้ดินเสื่อมผลผลิตตกต่ าต้นทุนสูงขึ้นเป็นผล
                       มาจากการขาดความรู้และความเข้าใจในการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างผิดวิธีไม่ตรงกับความต้องการของพืช
                              3. เกษตรกรท านาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการพักดินท าให้แมลงศัตรูพืช ไม่ถูกตัดวงจรชีวิต ท าให้

                       มีโรคแมลงศัตรูพืชท าลายข้าวได้รับความเสียหาย การก าจัดโรคแมลงศัตรูพืชใช้สารเคมีก าจัดท าให้
                       แมลงที่เป็นประโยชน์ถูกท าลายไปด้วย
                              แนวทางการแก้ปัญหาและการจัดการดิน

                              1. การระบายน้ าเฉพาะในส่วนของเนื้อดินตอนบนออกเพื่อล้างสารที่เป็นกรดออกไป
                       และต้องควบคุมให้มีน้ าแช่ขังอยู่ในดินล่าง เพื่อป้องกันไม่ให้สารที่เป็นกรดเกิดขึ้นใหม่อีก พร้อมกับต้อง
                       ป้องกันไม่ให้น้ าเค็มหรือน้ ากร่อยเข้ามาในบริเวณพื้นที่  และต้องใส่สารปรับปรุงดินพวกปูน เช่น
                       ปูนขาว ปูนมาร์ล  หินปูนบดละเอียดหรือเปลือกหอยเผาเพื่อให้ท าปฏิกิริยาแก้ความเป็นกรดในดิน
                       ควบคู่ไปกับการใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารพืช

                              2. เพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี การเพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินนอกจากเป็นการ
                       เพิ่มธาตุอาหารพืชโดยตรงแล้ว ยังเป็นการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น ช่วยปรับปรุง
                       โครงสร้างของดินให้ร่วนซุยโดยวิธีการที่ง่ายที่สุดคือการไถกลบตอซัง เพิ่มความสามารถในการดูดซับ

                       ธาตุอาหารพืชเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ า การเพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินที่สะดวกคือการใช้ปุ๋ยพืชสด
                       เช่น ปอเทือง ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม โสนอัฟริกัน เป็นต้น
                              3. เก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ ที่มีปัญหา เพื่อตรวจสอบปริมาณธาตุอาหาร ฟอสฟอรัสที่เป็น
                       ประโยชน์  โพแทสเซียมที่ละลายน้ าได้  ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพื่อเป็น

                       แนวทางในการจัดการและแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37