Page 51 - การใช้เทคโนโลยีการจัดการดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
P. 51

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       40







                             4.1.4 ข้าว
                                    พันธุ์ข้าวที่กรมการข้าวได้แนะน่าให้ปลูกในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลง
                       ใหญ่ (นาแปลงใหญ่) ต่าบลบึงทองหลาง อ่าเภอล่าลูกกา จังหวัดปทุมธานี มี 2 พันธุ์ คือ
                                 1)  พันธุ์ปทุมธานี 1 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง สายพันธุ์ BKNA6-18-3-2  กับสาย

                       พันธุ์ PTT85061-86-3-2-1  ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีในปี พ.ศ. 2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์
                       PTT90071-93-8-1-1 โดยคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง
                       เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2542  เป็นข้าวเจ้าหอมที่ไม่ไวต่อแสง สามารถน่าไปปลูกได้ตลอดทั้งปี  คือ
                       ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง คุณภาพของเมล็ดคล้ายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เมื่อเวลาข้าวสุกจะนุ่ม

                       เหนียว มีกลิ่นหอมมาก อายุเก็บเกี่ยวหลังหว่าน 104-114 วัน ต้นสูงประมาณ 104 – 133 เซนติเมตร
                       ผลผลิตประมาณ 650 – 774 กิโลกรัมต่อไร่ ข้อควรระวังคือ ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ค่อนข้างไม่
                       ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว โรคใบหงิกและโรคใบสีส้ม ไม่ควรใส่ปุ๋ยอัตราสูงเกินไป โดยเฉพาะปุ๋ย
                       ไนโตรเจน ถ้าใส่มากเกินอาจจะท่าให้ฟางอ่อน ต้นข้าวล้ม และผลผลิตลดลงได้

                                 2)  ข้าวพันธุ์ กข 57 ปทุมธานี 200 ผสมพันธุ์ระหว่าง สุพรรณบุรี 1 กับ IR64 เป็นข้าว
                       เจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว 107-110 วัน (วิธีหว่านน้่าตม) 117-120 วัน (วิธีปักด่า) ความสูง
                       ประมาณ 115-120 เซนติเมตร มีลักษณะกอตั้ง ล่าต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียว มุมปลายใบตั้งตรง ใบ

                       ธงยาว 46.5 เซนติเมตร กว้าง 1.38 เซนติเมตร มุมใบธงตั้งตรง รวงยาว 25.7 เซนติเมตร รวงแน่น
                       ปานกลาง  คอรวงโผล่เล็กน้อย  เมล็ดร่วงง่าย  ข้าวเปลือกสีฟางยาว  10.75  มิลลิเมตร  กว้าง  2.54
                       มิลลิเมตร  หนา  2.11  มิลลิเมตร  ข้าวกล้องรูปร่างยาว  7.41  กว้าง  2.23  มิลลิเมตร  หนา  1.90
                       มิลลิเมตร ข้าวสารยาว 6.98 มิลลิเมตร กว้าง 2.04 มิลลิเมตร หนา 1.79 มิลลิเมตร เป็นข้าวอมิโลสสูง
                       (27.33 เปอร์เซ็นต์)   ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้่าตาล   ศักยภาพการให้ผลผลิตสูงถึง 1,169  กิโลกรัม

                       ต่อไร่
                             4.1.5 ลักษณะของการจัดการข้าวทั่วไป
                                  หลังเก็บเกี่ยว พักดิน 15-20 วัน  ไม่เผาฟางและตอซังข้าว จากนั้นใช้รถไถยนต์แบบ

                       แทรกเตอร์ (ผาน 7) ไถ1 ครั้ง ตากดินทิ้งไว้ 1 เดือน ไถท่าเทือกโดยใช้รถไถเดินตาม แล้วทิ้งไว้ 5-7 วัน
                       หลังจากนั้น ระบายน้่าออก เพื่อเตรียมหว่านข้าว
                                  การเตรียมเมล็ดพันธุ์ แช่เมล็ดพันธุ์ข้าว  (พันธุ์ปทุมธานี 1)  ในน้่าหมักชีวภาพ พด.2 (น้่า
                       หมักสับปะรด)  นาน 1 คืน หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยใช้เครื่องโรยข้าวนาน้่าตม อัตราการหว่าน 8

                       กิโลกรัมต่อไร่
                                     การปฏิบัติดูแลรักษา หลังหว่านข้าว 4-7 วันฉีดสารป้องกันวัชพืชชนิดคุมหญ้า ข้าวอายุ
                       20 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-20 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร และ สูตร 46-0-0 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่
                       ข้าวอายุ 60 วัน ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ก่าจัดวัชพืชโดยใช้ยาฆ่าหญ้า ส่ารวจ

                       แปลงนา    หากพบแมลงศัตรูก่าจัดโดยใช้ยาฆ่าแมลงร่วมกับน้่าส้มควันไม้  เก็บเกี่ยวข้าวเมื่ออายุ
                       115-120 วัน
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56