Page 50 - การใช้เทคโนโลยีการจัดการดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
P. 50

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       39







                                                             บทที่ 4
                                                           ผลการศึกษา



                       4.1 วิเคราะห์สภาพพื้นที่
                             4.1.1 ดิน
                                  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มต่่า  ดินเป็นดินเหนียว  ดินบนสีเทาหรือสีเทาเข้มมาก  ดินชั้น
                       ล่างสีเทาหรือสีน้่าตาลอ่อน พบจุดประสีเหลืองและสีน้่าตาล มีการระบายน้่าเลว ปฏิกิริยาของดินเป็น

                       กรดจัดมาก  ความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลาง  ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ท่านา  หรือ
                       ยกร่องปลูกไม้ผล พืชผัก ปัญหาและข้อจ่ากัดในการปลูกพืชอื่น คือ
                                 1)  น้่าท่วม  เนื่องจากกลุ่มชุดดินนี้พบในบริเวณที่ราบลุ่มต่่า  ในช่วงฤดูฝน    น้่าท่วมขัง
                       เป็นระยะเวลา 4-5 เดือน ไม่เหมาะสมในการปลูก พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก แต่เหมาะสมส่าหรับการ

                       ปลูกข้าว
                                 2)  ดินเหนียวจัด  และดินมีโครงสร้างค่อนข้างแน่นทึบ  ท่าให้การไถพรวนดิน  ค่อนข้าง
                       ล่าบากและเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืชท่าให้พืชเกิดการชะงักการเจริญเติบโต

                                 ส่าหรับในด้านอื่นๆ ของพื้นที่ คือ ดินเปรี้ยว แก้ไขปรับปรุงโดยการใช้ปูนมาร์ลเพื่อท่าให้
                       คุณสมบัติทางเคมีของดินดีขึ้น  ลดความเป็นกรดในดิน  เพิ่มธาตุอาหารที่จ่าเป็นต่อพืชในดิน  ท่าให้
                       โครงสร้างของดินร่วนซุยง่ายต่อการไถพรวน  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง  ปัญหาจากการใช้สาร
                       ฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีจ่านวนมากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีจนท่าให้ดินเสื่อมสภาพลง  และต้นทุน
                       ในการผลิตสูง ท่าให้ได้รับผลตอบแทนต่่า

                                 ท่าการเก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์   ในแปลงนาของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
                       จ่านวน 25 ราย จากเกษตรกรทั้งหมด 205 ราย เพื่อให้ได้ข้อมูลรายละเอียด ธาตุอาหารพืช ความ
                       เป็นกรดเป็นด่างของดิน  พร้อมค่าแนะน่าการใส่ปูน  เพื่อปรับปรุงดินกรด  และให้ค่าแนะน่าการใช้ปุ๋ย

                       ตามค่าวิเคราะห์ดินได้อย่างถูกวิธี ตามอัตราที่ใช้ ระยะเวลาใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม ให้สอดคล้องกับลักษณะ
                       ของดิน และปริมาณธาตุอาหารในดิน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสามารถลดต้นทุน
                       การผลิต ตลอดจนเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
                             4.1.2 สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                                 สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบลุ่มต่่าดินเหนียว การระบายน้่าค่อนข้าง
                       เลวถึงเลว  ในช่วงฤดูฝนมีน้่าแช่ขังแฉะ หรือมีระดับน้่าใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดินเป็นเวลานาน จึงเหมาะสม
                       ส่าหรับปลูกข้าว หากต้องการปลูกไม้ผลหรือผักต้องท่าการยกร่อง
                             4.1.3 แหล่งน้่า

                                 ในพื้นที่โครงการไม่มีแหล่งน้่าธรรมชาติ หรือแหล่งน้่าขนาดใหญ่ แต่มีแหล่งน้่าชลประทาน
                       ซึ่งได้รับน้่าชลประทาน  จากโครงการส่งน้่าและบ่ารุงรักษารังสิตใต้  โดยมีการส่งน้่าผ่านคลองรังสิต
                       ประยูรศักดิ์คลองหกวาสายล่างและคลองระบายน้่าต่างๆ  ตั้งแต่คลองแปดจนถึงคลองสิบเอ็ด  อ่าเภอ
                       ล่าลูกกามีพื้นที่ชลประทานทั้งหมด 100,000 ไร่
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55