Page 36 - การใช้เทคโนโลยีการจัดการดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       25







                                      (3) ข้าวขึ้นน้ า ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ าท่วมขังในระหว่างการเจริญเติบโตของข้าว มี
                       ระดับน้ าลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน
                                      (4) ข้าวน้ าลึก ข้าวที่ปลูกในพื้นที่น้ าลึก ระดับน้ าในนามากกว่า 50 เซนติเมตร แต่
                       ไม่เกิน 100 เซนติเมตร

                                      (5) ข้าวไร่ ข้าวที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่ บริเวณไหล่เขาหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีน้ า
                       ขัง ไม่มีการท าคันนาเพื่อกักเก็บน้ า
                                      (6) ข้าวนาที่สูง ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ าขังบนที่สูงตั้งแต่ 700 เมตร เหนือ
                       ระดับน้ าทะเลขึ้นไป พันธุ์ข้าวนาที่สูงต้องมีความสามารถทนทานอากาศหนาวเย็นได้ดี

                              3.6.2 แบ่งตามการตอบสนองต่อช่วงแสง
                                     1) ข้าวไวต่อช่วงแสง เป็นข้าวที่ออกดอกเฉพาะเมื่อช่วงเวลากลางวันสั้นกว่า 12 ชั่วโมง
                       พันธุ์ข้าวประเภทนี้จึงปลูกและให้ผลผลิตได้ปีละหนึ่งครั้ง หรือปลูกได้เฉพาะในฤดูนาปีบางครั้งจึง
                       เรียกว่า ข้าวนาปี พันธุ์ข้าวในประเทศไทยที่เป็นพันธุ์พื้นเมือง ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่มีความไวต่อช่วง

                       แสง
                                     2) ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง เป็นข้าวที่ออกดอกเมื่อข้าวมีระยะเวลาการเจริญเติบโตและ
                       ให้ผลผลิตตามอายุ จึงใช้ปลูกและให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี หรือปลูกได้ในฤดูนาปรังบางครั้งจึงเรียกว่า

                       ข้าวนาปรัง

                       3.7 ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 (ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี, 2555)
                              ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง สายพันธุ์ BKNA6-18-3-2  กับสายพันธุ์
                       PTT85061-86-3-2-1    ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีในปี พ.ศ. 2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์

                       PTT90071-93-8-1-1 โดยคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง
                       เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2542
                              ลักษณะประจ าพันธุ์ เป็นข้าวเจ้าสูงประมาณ 104-133 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บ

                       เกี่ยว ประมาณ 104-126 วัน ทรงกอตั้ง ใบสีเขียว กาบใบและเปลือกสีเขียว ใบธงยาว ท ามุม 45
                       องศา กับคอรวง รวงอยู่ใต้ใบธง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขน มีหางเล็กน้อย ระยะพักตัวของเมล็ด
                       ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ปริมาณอมิโลส 15-19 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน
                       ปริมาณผลผลิต ประมาณ 650 -774 กิโลกรัมต่อไร่ ลักษณะเด่น ผลผลิตสูง คุณภาพเมล็ดคล้ายพันธุ์

                       ข้าวดอกมะลิ 105 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ าตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว ต้านทานโรคไหม้ และ
                       โรคขอบใบแห้ง ค่อนข้างอ่อนแอเพลี้ยจักจั่นสีเขียว โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม พื้นที่แนะน าคือ เขต
                       ชลประทานภาคกลาง


                       3.8 เทคโนโลยีการจัดการดิน

                               3.8.1 น้ าหมักชีวภาพ พด.2 (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)
                                         เป็นของเหลวซึ่งได้จากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์ที่มีลักษณะสด อวบ

                       น้ าหรือมีความชื้นสูง โดยอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์ทั้งในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนและมีออกซิเจน ท า
                       ให้ได้ฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41