Page 33 - การใช้เทคโนโลยีการจัดการดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       22







                       ธาตุอาหารรองปริมาณมาก และต้องการจุลธาตุปริมาณน้อย แต่หากได้รับธาตุใดธาตุหนึ่งมากเกินไป
                       จนเสียสมดุล การเจริญเติบโตจะผิดปกติและอาจเกิดเป็นพิษได้
                              3.3.3 ให้ปุ๋ยให้ถูกจังหวะเวลา (Right time) การเจริญเติบโตของพืชในแต่ละช่วงเวลามีความ
                       ต้องการธาตุอาหารในสัดส่วนที่แตกต่างกัน จึงต้องใช้ปุ๋ยเพื่อให้ธาตุอาหารถูกจังหวะเวลาที่พืชต้องการ

                       ขณะที่การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต้องประเมินจังหวะเวลาของการสลายตัวและปลดปล่อยธาตุอาหารให้
                       เหมาะสม เพื่อให้พืชได้รับธาตุอาหารได้เต็มที่ และตรงช่วงเวลาที่ต้องการในการเจริญเติบโต
                              3.3.4 ใส่ในบริเวณที่ถูกต้อง (Right place) ด้วยวิธีที่ถูกต้อง ปุ๋ยเคมีเมื่อละลายธาตุอาหารจะ
                       เข้าสู่พืชผ่านทางราก หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมอาจถูกตรึงหรือตกตะกอนไม่เป็น

                       ประโยชน์ได้หรืออาจถูกชะละลายและสูญหายไปกับการกร่อนของดินได้ การใส่ปุ๋ยเคมีที่มี
                       ประสิทธิภาพคือใส่ในบริเวณที่จะเข้าสู่รากพืชได้ง่าย และควรกลบเพื่อลดการสูญเสียจากการละลาย
                       ไปกับน้ า ขณะเดียวกันการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กับปุ๋ยเคมีจะช่วยให้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลด
                       ปัญหาการถูกตรึงและการชะละลายจนพ้นเขตรากพืชได้ ขณะเดียวกันปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยปรับ

                       โครงสร้างดินให้ร่วนซุย รากพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีและดูดซึมธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                       3.4 การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2559)

                              ดินเกิดจากการผุพังของหินและแร่ผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุ ภายใต้สภาพพื้นที่ สภาพ
                       ภูมิอากาศ และระยะเวลาในการสร้างตัวที่แตกต่างกัน ดินในแต่ละพื้นที่จึงมีสมบัติและลักษณะที่
                       แตกต่างกัน ความแตกต่างกันของสมบัติและลักษณะดินมีผลต่อความเหมาะสมของดินในการใช้
                       ประโยชน์ที่แตกต่างกันไป โดยทั่วไปแล้วสมบัติของดินเป็นสมบัติที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ยากยกเว้น
                       สมบัติทางด้านความอุดมสมบูรณ์ของดินจะเปลี่ยนแปลงได้ง่ายและมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช

                       อย่างชัดเจน เช่น ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในดิน ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่พืช
                       ต้องการใช้มากและหมดไปจากดินได้ง่ายหากไม่มีการเพิ่มเติมให้กับดินในรูปของปุ๋ยต่างๆ นอกจากนี้
                       สมบัติด้านโครงสร้างและความแน่นทึบของดินก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากเกี่ยวพันกับการ

                       หมดไปของอินทรียวัตถุอย่างรวดเร็ว หากในการจัดการดินไม่มีการเพิ่มเติมอินทรียวัตถุให้กับดิน จะ
                       ท าให้ดินแน่นทึบ ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารจะลดลง เนื่องจากรากพืชไม่สามารถแผ่กระจาย
                       ได้เท่าที่ควร เป็นเหตุให้ปุ๋ยต่างๆ ที่ใส่ให้กับพืชดูเหมือนไม่ได้ผลดังที่คาดหวังไว้
                              สมบัติที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายเหล่านี้มักเกิดในชั้นหน้าดิน ซึ่งเป็นส่วนที่รากพืชจะแผ่กระจายดูด

                       น้ าและธาตุอาหารขึ้นไปเพื่อการเจริญเติบโตของพืช ฉะนั้น หากดินในชุดเดียวกันแต่มีการจัดการดินที่
                       แตกต่างกัน จะท าให้ดินมีสมบัติที่แตกต่างกันได้ เช่น มีต้นทุนธาตุอาหารคงเหลือในดินที่แตกต่างกัน
                       เป็นต้น การจัดการปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ในดินที่มีสมบัติแตกต่างกัน ย่อมแตกต่างกันไปด้วย การ
                       ทราบถึงสภาพของสมบัติดินในปัจจุบัน จ าเป็นต้องมีการส ารวจตรวจสอบ และวิเคราะห์ดิน ทั้งนี้ หนึ่ง

                       ในการตรวจสอบสมบัติดินเบื้องต้น คือ การหาปริมาณธาตุอาหารในดิน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการ
                       ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
                              การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน คือ การตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างดิน เพื่อหาปริมาณธาตุอาหาร
                       หรือต้นทุนธาตุอาหารที่เหลืออยู่ในดิน เปรียบเทียบกับความต้องการธาตุอาหารพืชแต่ละชนิด เมื่อ

                       พบว่าต้นทุนธาตุอาหารที่มีในดินมีไม่เพียงพอ จึงให้ค าแนะน าการใช้ปุ๋ยในรูปของธาตุอาหารที่
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38