Page 32 - การใช้เทคโนโลยีการจัดการดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       21







                       เป็น  6.4  มิลลิอิควิวาเล็นต่อดิน  100  กรัม  ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิต
                       สูงขึ้น

                       3.2 การเก็บตัวอย่างดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553)

                              เวลาที่เหมาะสมส าหรับการเก็บตัวอย่างดิน  คือหลังจากการเก็บเกี่ยวหรือก่อนการปลูกข้าว
                       ประมาณ 1 เดือน สภาพดินไม่ควรแฉะหรือว่าแห้งจนเกินไป เพราะจะท าให้ไม่สะดวกในการเก็บ

                       จ านวนตัวอย่างดินที่จะเก็บขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ ชนิดของดิน ความลาดเอียงของพื้นที่
                       โดยทั่วไปถ้าเป็นพื้นที่ที่สม่ าเสมอขนาด 5-10 ไร่ ควรเก็บตัวอย่างดินอย่างน้อย 5 จุด กระจายให้ทั่ว
                       แปลง แล้วน ามารวมกันเป็น 1 ถุง น้ าหนักประมาณ 1 กิโลกรัม
                              อุปกรณ์
                                     1. จอบ เสียม หรือพลั่ว

                                     2. ภาชนะส าหรับใส่ดิน เช่น ถัง ถุงพลาสติก
                              วิธีการ
                                     ใช้จอบ เสียม หรือพลั่ว ให้ขุดหลุมเป็นรูปตัว V ขนาดความกว้างเท่ากับ หน้าจอบ/

                       เสียม/พลั่ว ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร น าดินในหลุมออกให้หมดแล้วใช้จอบ/เสียม/พลั่ว ขุดที่ขอบ
                       หลุมด้านใดด้านหนึ่ง น าดินที่ได้ใส่ถุงพลาสติก ระวังอย่าให้มีเศษตอซังฟางข้าว หรือรากข้าวติดมาด้วย
                       เพราะจะท าให้ค่าวิเคราะห์ดินที่ได้ไม่ใช้ปริมาณธาตุอาหารที่แท้จริงของดินในแปลง น าดินที่ได้แต่ละ
                       จุดมากองรวมกัน คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วแบ่งดินออกมาประมาณ 1 กิโลกรัม หากดินเปียกให้น าดิน

                       มาพึ่งในที่ร่มให้แห้ง แล้วบดให้ละเอียด ใส่ถุงพลาสติกที่จะส่งวิเคราะห์ เขียนรายละเอียด ชื่อ
                       นามสกุล วันที่เก็บตัวอย่าง ประวัติการปลูกพืช และประวัติการใส่ปุ๋ยในฤดูที่แล้ว

                       3.3  หลักการใช้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2559)

                              ปุ๋ยเคมี  ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ จะมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ในการปรับปรุงบ ารุง
                       ดินและเป็นธาตุอาหารพืชเมื่อมีการใช้อย่างเข้าใจและถูกต้องตามหลักการซึ่งมีอยู่ 4 ประการ
                       ดังต่อไปนี้
                              3.3.1 ชนิดปุ๋ยที่ถูกต้อง (Right  kind) การใช้ปุ๋ยเพื่อการปรับปรุงโครงสร้างดินจ าเป็นต้องใช้

                       ปุ๋ยอินทรีย์ ขณะที่ปุ๋ยชีวภาพต้องใช้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม กรณีธาตุอาหารพืชนั้นให้แนวคิด
                       ด้านการใช้ปุ๋ยคือ ธาตุใดบ้างที่จ าเป็นต่อการด ารงชีวิตของพืช และหากได้รับธาตุนั้นไม่เพียงพอจะมี
                       อาการผิดปกติ  ซึ่งแก้ไขได้เมื่อให้ธาตุอาหารจนพืชได้รับอย่างเพียงพอ  เมื่อพืชไม่เจริญเติบโตเพราะ
                       ขาดธาตุอาหารหนึ่งธาตุหรือหลายธาตุ ปุ๋ยที่ใช้จึงต้องมีธาตุอาหารตรงกับที่พืชขาดแคลนซึ่งอาจได้จาก

                       ปุ๋ยเคมี  ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ หรือสารปรับปรุงดินบางชนิดก็ได้
                              3.3.2 อัตราปุ๋ยที่ถูกต้อง (Right rate) การใช้ปุ๋ยจะเกิดผลตามที่มุ่งหวัง ทั้งด้านการปรับปรุง
                       โครงสร้าง และการให้ธาตุอาหารนั้น ขึ้นกับปริมาณของปุ๋ยที่ใช้เป็นส าคัญ หากใช้น้อยไปก็ไม่เห็นผล
                       หากใช้มากไปอาจท าให้เกิดโทษได้ ในกรณีของธาตุอาหาร พืชต้องการธาตุอาหารครบทุกธาตุ แต่ละ

                       ธาตุต้องเพียงพอและสมดุลกัน จึงจะเจริญเติบโตตามปกติ โดยทั่วไปพืชต้องการธาตุอาหารหลักและ
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37