Page 31 - การใช้เทคโนโลยีการจัดการดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       20







                                       (2) เมื่อสารละลายดินมีอะลูมินัมมากกว่า 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และความเข้มข้นของ
                       อะลูมินัมในใบระยะแตกกอสูงกว่า 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อาการเป็นพิษปรากฏที่ใบแก่ เริ่มที่ปลาย
                       ใบเป็นสีขาวลามมาหาโคนใบเป็นสีขาวหรือเหลืองระหว่างสันใบ แผ่นใบบางส่วนเป็นจุดสีน้ าตาลแล้ว
                       ตายเป็นหย่อมๆ

                                       (3) เมื่อดินมีแมงกานีสที่สกัดได้สูง 20-25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ท าให้ต้นข้าวชะงัก
                       การแตกกอ ล าต้นแคระแกร็น  แผ่นใบและก้านใบเกิดจุดสีน้ าตาล มันเกิดกับใบล่างๆของต้น
                               3.1.3 การใช้ประโยชน์พื้นทีดินเปรี้ยวจัดในการปลูกข้าว
                                      พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการท านาปลูกข้าว โดยการปรับปรุงแก้ไข

                       ความเป็นกรดของดินด้วยวัสดุปูนอัตราตามความต้องการปูนของดินด้วยวัสดุปูนอัตราตามความ
                       ต้องการปูนของดิน วัสดุปูนที่ใช้ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดภาคกลางและภาคตะวันออก ได้แก่ ปูนมาร์ล ส่วน
                       พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดภาคใต้ใช้หินปูนฝุ่น  พื้นที่ยกร่องปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ใช้ปูนโดโลไมท์ปรับปรุงแก้ไข
                       ความเป็นกรดจัดของดินก่อนปลูก

                                     1) ขั้นตอนการจัดการดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูง
                                       (1) เริ่มต้นด้วยการเก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์ เพื่อจะได้รู้ว่าดินเป็นกรดรุนแรงมาก
                       หรือน้อย วัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน หาค่าความต้องการปูนของดิน วิเคราะห์ปริมาณธาตุ

                       อาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม เพื่อน าไปหาอัตราปุ๋ยที่ต้องใช้ ตามโปรแกรมค าแนะน าการ
                       ใช้ปุ๋ยรายแปลง
                                       (2) ใส่วัสดุปูนปรับปรุงดินตามที่อัตราที่ก าหนด (ตามค่าความต้องการปูนของดิน)
                       โดยหว่านปูนกระจายทั่วพื้นที่ ไถคลุกเคล้ากับดินหมักไว้อย่างน้อย 7 วัน ในสภาพดินชื้นเพื่อให้ปูนท า
                       ปฏิกิริยาสะเทินกรดในดิน ความรุนแรงของกรดจะลดลง (ค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูงขึ้น) การใช้วัสดุ

                       ปูนทางการเกษตรแก้ความรุนแรงของกรดในดิน จึงเป็นวิธีที่ง่าย สะดวกและได้ผลรวดเร็วที่สุด
                                        ส าหรับอัตราปูนที่แนะน าให้ใช้นั้นแตกต่างไปตามระดับความรุนแรงของกรดในดิน
                       ดังนี้

                                       ดินเปรี้ยวจัดที่เป็นกรดรุนแรงน้อย ค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.6-5.0  ใส่
                       อัตรา 0.5 ตันต่อไร่
                                       ดินเปรี้ยวจัดที่เป็นกรดรุนแรงปานกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ
                       4.0 – 4.5 ใส่อัตรา 1 ตันต่อไร่

                                       ดินเปรี้ยวจัดที่เป็นกรดรุนแรงมาก ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง  ต่ ากว่า 4.0 ใส่อัตรา
                       1.5 -2.0 ตันต่อไร่ หรือตามค่าความต้องการปูนของดินที่วิเคราะห์ได้
                                      ประโยชน์ของวัสดุปูน  ลดความเป็นกรดจัดของดิน  ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
                       สูงขึ้น ตามปริมาณปูนที่ใส่มากขึ้น เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส)

                       และลดความเป็นพิษของอะลูมินั่ม เช่น  ดินเปรี้ยวจัดชุดดินรังสิตกรดจัด  มี  ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
                       4.4 หลังใส่ปูนมาร์ลอัตรา 1,426 กิโลกรัมต่อไร่ ความรุนแรงของกรดลดลง ดินมีค่า ค่าความเป็นกรด
                       เป็นด่าง สูงขึ้นเป็น 5.6 มีปริมาณอะลูมินัมลดลงเหลือ 0.5 มิลลิอิควิวาเล็นต่อดิน 100 กรัม จากเดิมมี
                       4.1 มิลลิอิควิวาเล็นต่อดิน 100 กรัม ปริมาณเหล็กลดลงจาก 9.3 มิลลิอิควิวาเล็นต่อดิน 100 กรัม
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36