Page 29 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             5-3





                            5.1.4 การวิเคราะห์ข้อมูลภาวะเศรษฐกิจและสังคม
                              1)  การวิเคราะห์ข้อมูล

                                ข้อมูลที่ทําการประมวลผลไว้แล้วนั้น จะต้องนํามาวิเคราะห์เพื่อให้ได้คําตอบตาม
                      วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เป็นการนําเอาข้อมูลมาผสมกันหรือแปรสภาพที่จะให้ความหมายได้มากขึ้น

                      กว่าเดิม วิธีทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ในกรณีนี้จะวิเคราะห์ข้อมูลโดย
                      ใช้ตาราง ซึ่งประกอบด้วยตารางแจกแจงเดี่ยวและตารางแจกแจงผสม (Cross  Tabulation)  โดย

                      แสดงผลเป็นค่าร้อยละและ/หรือค่าเฉลี่ย เมื่อได้ทําการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วเสร็จ ข้อมูลเหล่านี้จะถูก

                      จัดส่งให้แก่ผู้เกี่ยวข้องในการกําหนดเขตการใช้ที่ดิน เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ต่อไป แบ่งออกเป็น 2
                      ส่วน คือ

                               (1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเกษตรจะวิเคราะห์ในรูปของค่าเฉลี่ยต่อ
                      ครัวเรือน ซึ่งจะใช้เป็นข้อสรุปสภาพเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเกษตรในพื้นที่เป้ าหมาย

                      ประกอบด้วย รายละเอียดเกี่ยวกับหัวหน้าครัวเรือน การถือครองที่ดิน กรรมสิทธิ์ที่ดิน สถานที่ขาย
                      ลักษณะการขนส่ง ภาวะหนี้สินและการกู้ยืมเงิน ปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือจากรัฐและ

                      ทัศนคติในการผลิต
                               (2) การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตพืชจะวิเคราะห์ในรูปค่าเฉลี่ยต่อ

                      พื้นที่เพาะปลูก 1 ไร่ ประกอบด้วย สภาพการผลิต การใช้ปัจจัยในการผลิตและต้นทุนและผลตอบแทน
                      ในการผลิต การวิเคราะห์ข้อมูลด้านต้นทุนและผลตอบแทนนี้ จะวิเคราะห์แยกตามชนิดพืชและตาม

                      กลุ่มชุดดิน/ระดับความเหมาะสมของดิน


                      5.2  วิเคราะห์สภาพการผลิตและการตลาด รวมทั้งความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ

                            5.2.1 สภาพการผลิตและการตลาดพืชเศรษฐกิจ
                                 การปลูกพืชเศรษฐกิจเป็นอาชีพสําคัญของเกษตรกรในแต่ละปีสามารถทํารายได้ให้แก่ผู้ผลิต

                      และประเทศเป็นจํานวนมาก แต่การผลิตและการตลาดมีความไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

                      นอกจากนี้มีการแข่งขันกันด้านการตลาดและมีประเทศคู่แข่ง จึงจําเป็นต้องศึกษาด้านการผลิตและการตลาดใน
                      อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งการคาดการณ์ในอนาคต เพื่อให้ทราบข้อมูลที่เกิดขึ้นและวิเคราะห์ความเป็นไปได้

                      ของการผลิต รวมทั้งแนวโน้มและการคาดการณ์ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาด
                      ต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาประกอบการกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจ ประกอบด้วย

                              1)  สถานการณ์การผลิต
                               (1) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณการผลิตและความต้องการใช้ผลผลิต โดยใช้ข้อมูล

                      สถิติรายปี รายงานสถานการณ์การผลิตพืชเศรษฐกิจตามชนิดพืช ได้แก่ แหล่งปลูกรายจังหวัด/ภาคต่างๆ
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34