Page 28 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             5-2





                                 ข้อมูลที่ต้องการเหล่านี้จะต้องนําไปสร้างเป็นข้อคําถามในข้อซักถามต่อไป ข้อมูลแต่ละเรื่อง
                      อาจใช้ข้อซักถามมากข้อ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ โดยคํานึงถึงความถูกต้องของข้อมูลที่ได้ด้วย

                            5.1.3 วิธีการรวบรวมข้อมูล
                                 การรวบรวมข้อมูลดําเนินการโดยการสุ่มครัวเรือนตัวอย่างจากประชากรเป้ าหมาย โดย

                      ประชากรเป้าหมาย คือ ครัวเรือนที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในแต่ละกลุ่มชุดดินหรือในแต่ละระดับความ
                      เหมาะสมของดิน

                              1)  เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                                เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม (Questionnaires) แบบสอบถาม
                      จะแยกออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ส่วนแรก คือ คําถามด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเกษตรและ

                      ส่วนที่สอง คือ คําถามด้านต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตพืช
                              2)  การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม

                                วิธีการรวบรวมข้อมูลที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์ครัวเรือนตัวอย่างตามรายการในแบบสอบถาม
                      และเป็นการสัมภาษณ์รายบุคคล

                               (1) ประชุมชี้แจงผู้ร่วมงานรวมทั้งเจ้าหน้าที่สํารวจข้อมูล เพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์
                      ของการสํารวจข้อมูล รวมทั้งวิธีการเก็บข้อมูล อธิบายนิยามต่างๆที่ใช้ในแบบสอบถาม ชี้แจงให้ทุกคน

                      เข้าใจข้อคําถามแต่ละข้ออย่างถูกต้อง ตลอดจนแนะนําเทคนิคการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
                      มากที่สุด

                               (2) การกําหนดขนาดของตัวอย่าง จํานวนตัวอย่าง เป็นการพิจารณาระหว่างงบประมาณ

                      และระยะเวลาที่กําหนด
                               (3) การสุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)

                                 ในการรวบรวมข้อมูลภาคสนามนั้น หัวหน้าทีมสํารวจต้องควบคุมคุณภาพของการ
                      สํารวจข้อมูลด้วย โดยการตรวจสอบแบบสอบถามในขณะออกงานสนาม หากพบข้อผิดพลาดหรือ

                      ขาดตกบกพร่องจะทําการแก้ไขได้ง่ายและพนักงานสัมภาษณ์ที่มีข้อบกพร่องจะสามารถเรียนรู้ข้อมูล
                      จากการตรวจสอบนี้เพื่อปรับปรุงงานของตนเองต่อไป

                                3)  การประมวลผลข้อมูล
                                ข้อมูลที่รวบรวมมาได้จะถูกนํามาจัดระเบียบและประมวลผลในสํานักงานโดยใช้

                      โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป และตรวจสอบความสอดคล้องและความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้ง
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33