Page 27 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 27
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
บทที่ 5
เศรษฐกิจและสังคม
5.1 การสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคม
5.1.1 การเก็บข้อมูลภาวะเศรษฐกิจและสังคม เป็นวิธีการเก็บข้อมูลปฐมภูมิเพื่อให้ได้ข้อมูล
1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมทั่วไปของครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจแต่ละชนิด
2) สภาพการผลิตพืช ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตพืชชนิดต่างๆ เป็นข้อมูลที่
จําแนกตามชนิดพืชและตามกลุ่มชุดดินหรือตามระดับความเหมาะสมของดิน ได้แบ่งความเหมาะสม
ของดินสําหรับการปลูกพืชแต่ละชนิดไว้ 3 ระดับ คือ ความเหมาะสมสูง (S1) ความเหมาะสมปานกลาง (S2)
และความเหมาะสมน้อย (S3)
5.1.2 ลักษณะข้อมูล ประเภทและชนิดของข้อมูล
ข้อมูลที่ต้องการอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละพืช ดังนั้นจะต้องมีการประชุมหารือ
ร่วมกันระหว่างและผู้ที่เกี่ยวข้องในการวางแผนทุกครั้งก่อนเริ่มการปฏิบัติงาน แต่โดยทั่วไปแล้ว
ข้อมูลจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1) ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรที่ต้องทําการรวบรวม ได้แก่
(1) รายละเอียดเกี่ยวกับหัวหน้าครัวเรือน : อายุ ระดับการศึกษา
(2) การถือครองที่ดิน กรรมสิทธิ์ที่ดิน
(3) วิธีการขาย สถานที่ขายผลผลิต
(4) ลักษณะการขนส่ง
(5) ภาวะหนี้สินและการกู้ยืมเงิน
(6) ทัศนคติของเกษตรกรในการพัฒนาแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร ตลอดจนความ
ต้องการของชุมชน
2) ข้อมูลด้านต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตพืช ได้แก่
(1) สภาพการผลิต : เนื้อที่เพาะปลูก พันธุ์ ช่วงเวลาที่ปลูกถึงเก็บเกี่ยว ปริมาณผลผลิต
มูลค่าผลผลิต และการใช้ประโยชน์ผลผลิต
(2) การใช้ปัจจัยการผลิต : วัสดุที่ใช้ในการผลิต แรงงานคน และแรงงานเครื่องจักร
(3) ต้นทุนในการผลิต : ต้นทุนผันแปร ต้นทุนคงที่ ต้นทุนที่เป็นเงินสดและต้นทุนที่
ไม่เป็นเงินสด