Page 11 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                                                           บทที่ 3

                                       ความรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



                      3.1  ทรัพยากรดิน

                            3.1.1 กลุ่มชุดดิน
                              1)  ความเป็นมา

                                กรมพัฒนาที่ดินได้จัดทําแผนที่ความเหมาะสมของดินสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ
                      ระดับจังหวัด มาตราส่วน 1:50,000 ขึ้นในปี 2530-2534 โดยใช้ลักษณะและสมบัติดินที่มีผลต่อการใช้

                      ประโยชน์ที่ดินสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจและทางด้านปฐพีกลศาสตร์บางกิจกรรม ได้แก่ ชนิดและ
                      ปริมาณวัสดุที่เป็นองค์ประกอบดิน ชนิดของวัตถุต้นกําเนิดดิน ความลาดชันของพื้นที่ สภาพพื้นที่ที่

                      เกิดดิน ระยะเวลาและการพัฒนาการของดิน สภาพความชื้นของดิน สภาพการแช่ขังนํ้าหรือการอิ่มตัว
                      ด้วยนํ้าของดิน การระบายนํ้าของดิน ชั้นขนาดอนุภาคดิน ความลึกของดิน ชนิดวัสดุต้นกําเนิดดินหรือ

                      ชนิดของชิ้นส่วนเนื้อหยาบ ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ความเค็มของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลักษณะ

                      และสมบัติอื่นๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชที่ปลูก
                                ต่อมาในปี 2545 ได้มีการปรับฐานข้อมูลกลุ่มชุดดินใหม่บนแผนที่ภูมิประเทศ กรมแผนที่ทหาร

                      และบนภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1:25,000  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่กรมพัฒนาที่ดิน
                      รับผิดชอบ ข้อมูลกลุ่มชุดดินระดับนี้ได้ใช้เป็นข้อมูลสําหรับกําหนดเขตความเหมาะสมของดินสําหรับ

                      ปลูกพืชเศรษฐกิจ
                                กลุ่มชุดดินจําแนกได้ 62  กลุ่มชุดดิน สามารถจัดกลุ่มชุดดินตามสภาพพื้นที่และเขต

                      ความชื้นดินได้ 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
                               1.1)  กลุ่มชุดดินที่พบในพื้นที่ลุ่มเขตความชื้นดินแบบที่ดินมีนํ้าขังหรือดินอิ่มตัวด้วย

                      นํ้า ดินมีการระบายนํ้าเลวมาก เลวหรือค่อนข้างเลว ประกอบด้วย 28  กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่
                       1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 57, 58 และ 59

                      พบได้ในทุกภาคของประเทศ

                               1.2)  กลุ่มชุดดินที่พบในพื้นที่ดอนเขตความชื้นดินแบบที่ดินแห้งติดต่อกันนาน
                      ดินมีการระบายนํ้าดีปานกลาง ดี ค่อนข้างมากหรือมากเกินไป ประกอบด้วย 22 กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่
                      28, 29, 30, 31, 33, 35, 36, 37, 38, 40, 41, 44, 46, 47, 48, 49, 52, 54, 55, 56, 60 และ 61 พบในพื้นที่ดอน

                      ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกบางพื้นที่
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16