Page 10 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             2-3





                              2) ความมั่นคงด้านพลังงาน ประเทศไทยยังขาดความมั่นคงด้านพลังงาน เนื่องจากต้อง
                      นําเข้านํ้ามันเชื้อเพลิงปีละไม่ตํ่ากว่า 1 ล้านล้านบาท ประเทศไทยต้องกําหนดนโยบายพลังงานทดแทน

                      จากพืช เศรษฐกิจ โดยใช้อ้อย (กากนํ้าตาล) และมันสําปะหลังในการผลิตเอทานอลเพื่อนํามาผลิต
                      นํ้ามันแก๊สโซฮอล และปาล์มนํ้ามันเพื่อผลิตไบโอดีเซล

                              3)  มูลค่าการส่งออก  ราคาผลผลิต พืชเศรษฐกิจเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูง รวมทั้ง
                      เกี่ยวข้องกับเกษตรกรเป็นจํานวนมาก พืชเศรษฐกิจ 6 ชนิด คือ ข้าว ยางพารา มันสําปะหลัง ปาล์มนํ้ามัน

                      อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 842,490 ล้านบาท และจํานวน

                      เกษตรกรผู้ผลิตสินค้าทั้ง 6 ชนิดข้างต้นเป็นส่วนใหญ่ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมด ประกอบกับเป็น
                      สินค้าที่มีปัญหาความไม่สอดคล้องระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ทําให้มีปัญหาราคาผันผวนให้ต้อง

                      แก้ไขอย่างต่อเนื่อง
                            2.2.2 ความสําคัญของเขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ

                                 การปลูกพืชเศรษฐกิจหลายชนิดของประเทศไทย ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
                      เนื่องจากเกษตรกรส่วนหนึ่งนําพื้นที่ที่มีความเหมาะสมน้อย หรือไม่เหมาะสมมาใช้ปลูกพืช ส่งผลให้

                      ประสิทธิภาพการผลิตโดยเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ตํ่า ต้นทุนการผลิตสูง และหลายชนิดมีปริมาณเกินความ
                      ต้องการของตลาด จึงต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมอย่างเหมาะสมสําหรับพืชเศรษฐกิจ

                                 การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมเป็นแนวคิดที่ดําเนินการภายใต้นโยบายของรัฐบาล
                      ในการจัดการและใช้ที่ดินของประเทศเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด จึงต้องคํานึงถึงศักยภาพหรือความ

                      เหมาะสมของทรัพยากรที่ดินในการปลูกพืชเศรษฐกิจ เขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจเป็น

                      กลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนให้การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมเกิดประโยชน์สูงสุด  โดยนําเขต
                      เหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจไปดําเนินการ ดังนี้

                              1)  เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ในเขตเหมาะสมสูง และปานกลาง
                              2)  ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตในเขตเหมาะสมน้อย และเขตไม่เหมาะสม
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15