Page 9 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 9
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2-2
2.1.4 ความหมายหน่วยที่ดิน
หน่วยที่ดิน เป็นหน่วยแผนที่ที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์คุณลักษณะของดินให้
ครอบคลุมในด้านการจัดการและการอนุรักษ์ เพื่อจัดเป็นหน่วยที่ดินที่มีสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละ
หน่วยที่ดินนั้นๆ
2.1.5 ความหมายสภาพการใช้ที่ดิน
สภาพการใช้ที่ดิน หมายถึง การใช้ที่ดินเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ในด้านต่างๆ
เช่น การทําเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัย เป็นต้น โดยระบุว่า บนที่ดินนั้นๆ
ถูกใช้ประโยชน์/ทํากิจกรรม ปกคลุมด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตลอดจนการกระทําของมนุษย์
เช่น ป่าไม้ ที่หินโผล่ ชายหาด และ เหมืองแร่ เป็นต้น
2.1.6 ความหมายคุณภาพที่ดิน
คุณภาพที่ดิน หมายถึง คุณสมบัติของที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต
ของพืช คุณภาพที่ดินอาจประกอบด้วยสมบัติดินตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ คุณภาพที่ดินที่นํามา
ประเมินความเหมาะสมทางกายภาพสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจในระบบของ FAO Framework (1983)
มีทั้งหมด 25 ชนิด สําหรับประเทศไทย พบว่าคุณภาพที่ดินที่ควรนํามาใช้ประเมินความเหมาะสมทาง
กายภาพ มี 13 ชนิด
2.1.7 ความหมายการประเมินคุณภาพที่ดิน
การประเมินคุณภาพที่ดิน เป็นการพิจารณาศักยภาพของทรัพยากรที่ดินต่อการใช้
ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ ในระดับการจัดการที่แตกต่างกัน ซึ่งในปัจจุบันกรมพัฒนาที่ดิน โดยกองนโยบาย
และแผนการใช้ที่ดินได้ใช้วิธีการประเมินคุณภาพที่ดินของ FAO Framework (1983) มาประเมินความ
เหมาะสมทางกายภาพสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ
2.1.8 ความหมายการประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพ
การประเมินคุณภาพที่ดินทางด้านกายภาพ เป็นการประเมินเชิงกายภาพว่าที่ดินนั้น
มีความเหมาะสมมากหรือน้อยเพียงใดต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจแต่ละชนิด
2.2 ความสําคัญ
2.2.1 ความสําคัญของพืชเศรษฐกิจ
1) ความมั่นคงทางอาหารของโลกมีแนวโน้มจะเป็นปัญหาสําคัญ ความต้องการพืช
อาหารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก แต่การผลิตพืชอาหารประสบปัญหาด้วย
ข้อจํากัดด้านพื้นที่ เทคโนโลยีที่มีอยู่ ทําให้ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิต
พืชอาหารได้ บางครั้งผลิตเกินความต้องการของตลาด ทําให้ราคาสินค้าเกษตรตกตํ่า