Page 63 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 63

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         52


                  แหล่งธรรมชาติส่วนมากจะอยู่ตามถ้่า ได้แก่ มูลค้างคาวและมูลนก  อย่างไรก็ตามหากสามารถน่ามูลสัตว์มาใช้

                  เป็นปุ๋ยคอกในท้องถิ่นได้มากกว่าที่เป็นอยู่ก็จะช่วยเพิ่มผลิตภาพของดินให้สูงขึ้น  ทั้งนี้เนื่องจากปุ๋ยคอกมีทั้ง
                  ธาตุหลัก ธาตุรองและจุลธาตุ  พืชจะได้รับประโยชน์จากการใส่ปุ๋ยคอกสองประการ คือ ประการที่ 1 ธาตุ

                  อาหารพืชรูปที่เป็นประโยชน์อย่างช้าๆ และต่อเนื่องด้วยกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์  และประการที่

                  2 ปรับปรุงสมบัติทางเคมี  กายภาพและชีวภาพของดิน  ซึ่งจะเกิดผลเพิ่มขึ้นจากการใส่ปุ๋ยคอกหลายๆ ครั้ง
                  จากรายงานของกรมวิชาการเกษตร พบว่า ปุ๋ยคอกส่วนใหญ่มาจากสัตว์ 6 ประเภท คือ โคเนื้อ โคนม กระบือ

                  ไก่ เป็ด และสุกร  ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณสูงสุด คือ 18.198 ล้านตัน  ภาคกลางรวมกับภาค
                  ตะวันออกมีปริมาณ 11.039 ล้านตัน  ภาคเหนือมีปริมาณ 4.975 ล้านตัน และภาคใต้มีปริมาณน้อยที่สุด คือ

                  1.259 ล้านตัน  เมื่อพิจารณามูลสัตว์ที่ได้จากสัตว์แต่ละประเภท พบว่า มูลจากระบือมากที่สุดถึง 14.52 ล้าน
                  ตัน  มูลจากโคเนื้อ 10.53 ล้านตัน  มูลจากสุกร 6.11 ล้านตัน  มูลจากโคนม 2.20 ล้านตัน  มูลจากไก่ 1.94

                  ล้านตัน และมูลจากเป็ดน้อยที่สุด คือ 0.171 ล้านตัน  ซึ่งแยกเป็นรายภาคต่างๆ ดังตารางที่ 4.1

                  ตารางที่ 4.1 ชนิดและปริมาณมูลสัตว์ในภาคต่างๆ ปี 2547 (ล้านตัน)


                    ชนิดมูล      ภาคเหนือ      ภาคตะวันออก      ภาคกลางและ         ภาคใต้           รวม

                     สัตว์                       เฉียงเหนือ     ภาคตะวันออก

                  มูลโคเนื้อ       2.18            4.36             3.66            0.33           10.53


                  มูลโคนม         0.175            0.44             1.54            0.045          2.20

                  มูลกระบือ        1.49            11.81            0.95            0.27           14.52


                  มูลสุกร          0.80            1.00             3.84            0.47           6.11

                  มูลไก่           0.30            0.54             0.97            0.13           1.94

                  มูลเป็ด         0.030            0.048           0.079            0.014          0.171


                  รวม             4.975           18.198           11.039           1.259         35.471

                  ที่มา: ส่านักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร (2548ข)

                  3. ธาตุอาหารในปุ๋ยคอก

                         ปุ๋ยคอกแต่ละชนิดจะมีปริมาณธาตุอาหารแตกต่างกัน  เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า

                         3.1 คุณภาพอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์แต่ละชนิดแตกต่างกัน ดังตารางที่ 4.2 พบว่า มูลไก่มีปริมาณธาตุ

                  อาหารหลักมากที่สุด  เพราะคุณภาพของอาหารที่เลี้ยงไก่มีโปรตีน  ธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมมากกว่า
                  อาหารสัตว์ชนิดอื่นๆ  โดยทั่วไประบบการย่อยอาหารของสัตว์สามารถดูดซึมสารอาหารไปได้เพียงบางส่วนที่

                  เหลือจะออกมากับสิ่งขับถ่าย  กล่าวคือประมาณร้อยละ 75 ของไนโตรเจน  ร้อยละ 80 ของฟอสฟอรัส และ
                  ร้อยละ 90 ของโพแทสเซียมในอาหารจะตกค้างอยู่ในมูลที่ขับถ่าย  และสิ่งขับถ่ายของสัตว์มีทั้งของแข็งและ

                  ของเหลว (ปัสสาวะ)  โดยประมาณครึ่งหนึ่งของไนโตรเจน  ฟอสฟอรัสเกือบทั้งหมดและสองในห้าส่วนของ
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68