Page 38 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 38
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
27
ของอินทรียวัตถุในดิน (Muscolo et al., 2007) โดยโมเลกุลของสารฮิวมิกประกอบด้วยสารอินทรีย์โมเลกุล
ขนาดเล็กหลายๆ อย่างมาเชื่อมกันด้วย hydrophobic interaction และพันธะไฮโดรเจน (Piccolo, 2002;
Sutton and Sposito, 2005) จึงท่าให้โครงสร้างโมเลกุลของสารฮิวมิกมีความซับซ้อนและคงทนต่อการย่อย
-10
สลายโดยจุลินทรีย์ในดิน มีสีน้่าตาลหรือสีน้่าตาลด่า มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโมเลกุลประมาณ 30 x 10
-10
ถึง 100 x 10 เมตร ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ฮิวมิน กรดฮิวมิก และกรดฟุลวิก (คณาจารย์ภาควิชา
ปฐพีวิทยา, 2541)
สารฮิวมิกมีบทบาทที่ส่าคัญต่อดินทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ โดยหน้าที่ส่าคัญที่มีต่อสมบัติ
ทางกายภาพของดิน คือ ช่วยให้ดินโปร่งไม่อัดกันแน่น (Soane, 1990) เพราะท่าให้อนุภาคของดินเกาะ
รวมกันเป็นเม็ดดิน มีผลท่าให้ดินมีการระบายอากาศได้ดีจึงช่วยให้รากพืชหายได้ดี เพิ่มความสามารถในการ
อุ้มน้่าและลดการกัดเซาะพังทลายของหน้าดิน (Piccolo et al., 1997) ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก
โดยเฉพาะดินทราย หน้าที่ส่าคัญทางเคมี คือ สารฮิวมิกเป็นแหล่งธาตุอาหารแก่พืช (Stevenson, 1994)
และช่วยให้การดูดซึมธาตุอาหารได้ดีขึ้น เพราะสารฮิวมิกมีคุณสมบัติเป็นสารอิเล็กโทรไลต์สามารถแตกตัว
และดูดจับธาตุอาหารพืชในดิน แล้วดูดซึมผ่านทางรากพืชจึงท่าให้พืชเจริญเติบโตด้ดี (Nardi et al., 2002)
สามารถจะค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารหลักให้แก่พืชที่ละน้อย (Ayuso et al., 1996) ท่าให้ช่วยชะลอการ
สูญเสียธาตุอาหารและคงความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน และยังสามารถดูดจับโลหะหนักจึงช่วยลดความเป็นพิษแก่
พืช (Newton et al., 2006; Soler – Roviira et al., 2004) นอกจากนี้ยังช่วยต้านทานการเปลี่ยนแปลงค่า
ความเป็นกรดเป็นด่างของดินได้ (Garcia – Gil et al ., 2004) ส่วนหน้าที่ส่าคัญทางด้านชีวภาพ คือ ช่วย
เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อการย่อยสลายสารอินทรย์ในดิน (Kim et al., 1997) และช่วยยับยั้ง
การเจริญเติบโตจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคพืชได้ (Pascual et al., 2002)
2.3 ฮิวมิน เป็นส่วนหนึ่งของสารฮิวมิก ไม่สามารถละลายในด่าง กรด และน้่า (Brady and Weil,
2004) ส่วนมากจะมีสีด่า โครงสร้างมีองค์ประกอบใกล้เคียงกับกรดฮิวมิก แต่ที่แตกต่าง คือ มีวงแหวนแอโร
แมติกน้อยกว่ากรดฮิวมิก (Schnitzer and Khan, 1972 อ้างถึงใน Tan, 2003) สารฮิวมินมีขนาดโมเลกุล
ค่อนข้างใหญ่มีน้่าหนักอยู่ในช่วงประมาณ 100,000 – 10,000,000 ดาลตัน โดยสารฮิวมินมีโครงสร้าง
ซับซ้อนและความคงทนต่อการย่อยสลายในดินมากที่สุด และมีโพลีแซคคาไรด์แอลิแฟติกมากจึงท่าให้ไม่
ละลายในสารละลายด่าง และมีปริมาณหมู่ฟังก์ชันน้อยจึงมีค่าความแลกเปลี่ยนประจุต่่า ไม่ว่องไวต่อการ
เกิดปฏิกิริยาทางเคมี จึงไม่มีบทบาทด้านการคีเลชั่นหรือการแลกเปลี่ยนประจุบวกที่มีผลต่อการดูดซับธาตุ
อาหาร เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและการเจริญเติบโตของพืช แต่บทบาทที่ส่าคัญของฮิวมิน คือ
ช่วยปรับโครงสร้างของดิน เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้่าของดิน รักษาเสถียรภาพของดิน เป็นแหล่ง
ของวัฏจักรคาร์บอน อีกทั้งเมื่อสะสมนานไปอาจเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ (Tan, 2003; Robert,
2004) นอกจากนี้ยังช่วยลดความเป็นพิษของโลหะหนัก ได้แก่ ทองแดง นิเกิล และแคดเมียน โดยจะตรึง
โลหะหนักให้อยู่ในรูปที่ไม่เป็นพิษต่อพืชได้ (Ingelmo et al., 2012) โดยทั่วไปมักพบฮิวมินเป็นส่วนของ
กรดฟุลวิก กรดฮิวมิก ผนังเซลของจุลินทรีย์ สารประกอบอินทรีย์บางชนิด เช่น เซลลูโลส หรือลิกนินที่เข้า
ไปเกาะยึดอยู่กับสารประกอบอนินทรีย์ในดิน เช่น อนุภาคดินเหนียว (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541)