Page 37 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 37
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
26
อินทรียวัตถุในดิน
สารฮิวมิก สารที่ไม่ใช่สารฮิวมิก
ละลายด้วยด่าง
สารที่ไม่ละลายในด่าง
ส่วนที่ละลายในด่าง
(ฮิวมิน)
ปรับให้เป็นกรด
ตกตะกอน ในสารละลาย
(กรดฮิวมิก) (กรดฟุลวิก)
ภาพที่ 2.2 วิธีการสกัดเพื่อแยกส่วนต่างๆ ของอินทรียวัตถุในดิน
ที่มา: Brady and Weil (2004)
2.1 สารที่ไม่ใช่ฮิวมิก ประกอบด้วยสารอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไป เช่น
สารประกอบพวกคาร์โบไฮเดรท ไขมัน โปรตีน กรดอะมิโน ลิกนิน แทนนิน และกรดอินทรีย์ต่างๆ เป็นต้น
สารประกอบเหล่านี้ปกติจุลินทรีย์ย่อยสลายได้ง่าย แต่ยังพบในปริมาณค่อนข้างมากในดิน เพราะส่วนใหญ่
เข้าไปเกาะยึดอยู่กับอนุภาคของดินเหนียว หรือท่าปฏิกิริยากับแคตไอออนของโลหะบางชนิด เช่น เหล็ก
ทองแดง หรืออะลูมินัม หรือแม้ท่าหน้าที่เป็นสารเชื่อมของเม็ดดิน ท่าให้สลายตัวได้ยากขึ้น (คณาจารย์
ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541) ซึ่งการที่สารเหล่านี้ยังคงสภาพอยู่ในดินได้เพราะขึ้นกับขนาดโมเลกุลและความ
ซับซ้อนของสารเหล่านั้น เช่น สารไบโพลีเมอร์ธรรมชาติ ได้แก่ ลิกนิน เซลลูโลส โพลีฟีนอลส์และโปรตีน อาจ
คงสภาพอยู่ในดินเป็นปีเพราะโครงสร้างโพลีเมอร์ ความเป็นผลึกหรือการเกิดเสถียรภาพ โดยการมี
ปฏิสัมพันธ์กับสารอื่นๆ เช่น สารประกอบเชิงซ้อนโปรตีน – แทนนิน แต่ในดินส่วนใหญ่กิจกรรมทางชีวภาพ
ไม่ถูกจ่ากัด ดังนั้น ปริมาณของสารโพลีเมอร์ธรรมชาติ หรือโมเลกุลที่มีโครงสร้างซับซ้อนอย่างลิกนินก็ยังถูก
ย่อยสลายได้ (ปัทมา, 2547) ลักษณะที่ส่าคัญของสารอินทรีย์เหล่านี้ คือ มีมวลโมเลกุลค่อนข้างต่่า มี
โครงสร้างโมเลกุลไม่สลับซับซ้อน ง่ายต่อการย่อยสลาย และเป็นแหล่งอาหารและพลังงานของจุลินทรีย์
(ไพบูลย์, 2546)
2.2 สารฮิวมิก เป็นสารอินทรีย์ที่มีลักษณะมีมวลโมเลกุลใหญ่ โครงสร้างโมเลกุลมีรูปร่างไม่
แน่นอน และแสดงสมบัติเป็นสารคอลลอยด์ (ไพบูลย์, 2546) ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการย่อยสลายเศษซากของ
สิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน โดยจะพบสารฮิวมิกในดินทั่วไปประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์