Page 36 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 36
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
25
1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
ระดับปริมาณอินทรียวัตถุในดินเป็นสมบัติประการหนึ่งของดินที่จะบ่งชี้ถึงคุณภาพของดินทาง
การเกษตร โดยปริมาณอินทรียวัตถุในดินแต่ละพื้นที่มีค่าแตกต่างกัน ซึ่งจะถูกก่าหนดโดยปัจจัยต่างๆ หลาย
ประการ ได้แก่ ชนิดและปริมาณของพืชที่ปกคลุมพื้นที่ สภาพูมิอากาศ สมบัติของดิน และระบบการเกษตร
โดยมีรายละเอียด (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541) ดังนี้
1.1 พืชพรรณ
พืชที่สามารถสร้างชีวมวลได้มาก มีการเจริญเติบโตอย่างหนาแน่น และมีระยะเวลาปกคลุม
พื้นดินได้นาน จะมีปริมาณอินทรียวัตถุในดินมากกว่าพืชสร้างชีวมวลได้น้อย มีการเจริญเติบโตอย่างไม่
หนาแน่น และมีระยะเวลาปกคลุมพื้นดินได้ไม่นาน เช่น พื้นที่ปลูกทุ่งหญ้าจะมีอินทรียวัตถุสูงกว่าพื้นที่
เพาะปลูกพืชทางการเกษตร เช่น ข้าวโพด มันส่าปะหลัง นอกจากนี้เศษพืชที่ย่อยสลายตัวได้ช้าจะท่าให้ดินมี
อินทรียวัตถุมากกว่าเศษพืชที่ย่อยสลายได้เร็ว
1.2 ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิ ปริมาณและการกระจายตัวของฝน มีอิทธิพลอย่างมากต่อ
ชนิดพืช คือ ความหนาแน่นของพืชและอัตราความเร็วของการสลายตัวของอินทรียวัตถุในดิน ดังนั้นถ้าพื้นที่
ใดมีปริมาณและการกระจายตัวของฝนที่ดีก็ท่าให้พืชเจริญเติบโตได้มาก ดินก็ได้รับสารอินทรีย์ในปริมาณมาก
แต่ถ้าพื้นที่มีอุณหภูมิที่สูงจะท่าให้เร่งการสลายตัวของอินทรียวัตถุในดิน มีผลให้ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุ
ลดลง
1.3 สมบัติของดิน
สมบัติของดิน ได้แก่ เนื้อดิน โครงสร้างดิน ความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นกรดเป็นด่าง ความเค็ม
เป็นต้น ถ้ามีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชย่อมส่งผลท่าให้พืชสร้างชีวมวลได้มาก เป็นการช่วย
ยกระดับปริมาณอินทรีย์ที่จะเพิ่มลงในดินแต่ละปี และดินเนื้อหยาบจะมีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยกว่าดินเนื้อ
ละเอียด เพราะว่า ดินเนื้อหยาบมีการระบายได้ดีกว่าดินเนื้อละเอียด มีผลท่าให้จุลินทรีย์ย่อยสารอินทรีย์ได้
รวดเร็วขึ้น
1.4 ระบบการเกษตร
การท่าการเพาะปลูกส่วนใหญ่มักท่าให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดินลดลงไปจากระดับเดิม เพราะ
กระบวนการทางการเกษตรต่างๆ จะท่าให้เศษซากพืชกลับลงไปในดินน้อยลง ได้แก่ การเปิดหน้าดินทิ้งไว้โดย
ไม่มีพืชปกคลุม การปล่อยพื้นที่ให้ว่างเปล่า การก่าจัดวัชพืช การปลูกพืชที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าพืช
ธรรมชาติ พืชที่ปลูกมีสัดส่วนรากอยู่น้อยกว่าพืชธรรมชาติ มีการน่าผลผลิตและเศษซากพืชออกจากพื้นที่
และการจัดการหลายประการที่ไปช่วยเร่งอัตราการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เกิดเร็วขึ้น เช่น การไถ
พรวนดิน การให้น้่าชลประทาน
2. องค์ประกอบทางเคมีของอินทรียวัตถุในดิน
ในการศึกษาองค์ประกอบเบื้องต้นของอินทรียวัตถุในดิน จากตัวอย่างดินที่ผ่านตะแกรงร่อนซึ่งมี
ช่องขนาด 2 มิลลิเมตร พบว่า สามารถแยกอินทรียวัตถุได้เป็น 2 ส่วน คือ “สารฮิวมิก” และสารที่ “มิใช่สาร
ฮิวมิก” และสารฮิวมิกจะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ฮิวมิน กรดฮิวมิก และกรดฟุลวิก ดังภาพที่ 2.2