Page 35 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 35
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
24
บทที่ 2
อินทรียวัตถุในดิน
อินทรียวัตถุในดินเป็นองค์ประกอบส่าคัญของดินที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสมบัติต่างๆ ของดินทั้งทาง
เคมี กายภาพ และชีวภาพ อันส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความสามารถใน
การให้ผลผลิตของดิน รวมทั้งการพัฒนาระบบนิเวศของแต่ละสภาพแวดล้อมโดยตรง หากปราศจาก
อินทรียวัตถุในดินแล้ว ดินจะขาดแหล่งธาตุอาหารของพืช ขาดความอุดมสมบูรณ์ น่ามาซึ่งความเสื่อมโทรม
ของทรัพยากรดินและจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
อินทรียวัตถุ (Organic Matter) หมายถึง สิ่งที่ได้จากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ ซากพืช ซากสัตว์
รวมถึงสิ่งขับถ่าย ของมนุษย์และสัตว์ รวมไปถึงเซลล์ของจุลินทรีย์ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และส่วนที่ตายแล้วซึ่ง
กระบวนการย่อยสลายประกอบด้วยหลายขั้นตอนตั้งแต่อยู่ในรูปเดิมหรือเปลี่ยนแปลงแต่ยังจ่ารูปเดิมได้จนถึง
เปลี่ยนแปลงจากเดิมโดยสมบูรณ์ เมื่อย่อยสลายต่อไปขั้นสุดท้ายจะได้ฮิวมัส แต่ไม่รวมถึงรากพืชหรือเศษซาก
พืชหรือสัตว์ที่ยังไม่ย่อยสลาย (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541 ; ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)
กระบวนการย่อยสลายตัวของอินทรียวัตถุในดิน ได้แก่ เศษซากพืชและซากสัตว์ โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ใน
ดิน ดังภาพที่ 2.1
คาร์โบไฮเดรท (40 – 50 %)
เศษซากพืช
เศษซากสัตว์ ลิกนิน แทนนิน (10 – 30 %) โปรตีน (10 – 30 %)
CO , H O, NH และอื่นๆ ย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดิน
2 2 3
สารประกอบพวก
- aromatic nature (polyphenols, quinines)
- amino acids, protein
- quinoid
กระบวนการกลั่นตัว
ฮิวมัส (อินทรียวัตถุ)
ภาพที่ 2.1 กระบวนการย่อยสลายตัวของอินทรียวัตถุ
ที่มา: ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน (2551)